วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

(b) Crimes against humanity; (c) War crimes; (d) The crimes of aggression. ซึ่งจากตัวอย่างข้างต้นจะเห็นได้ว่าไม่เพียงแต่กฎหมายระหว่างประเทศจะ ได้กำ�หนดให้การกระทำ�ความผิดของปัจเจกชนในทางระหว่างประเทศมีลักษณะที่ ทุกรัฐสามารถมีเขตอำ�นาจในการจับกุมลงโทษปัจเจกชนที่กระทำ�ความผิดได้เท่านั้น (universal jurisdiction) แต่ในปัญหาความรับผิดของปัจเจกชนในทางระหว่างประเทศ กฎหมายระหว่างประเทศยังไม่คำ�นึงถึงสถานะของปัจเจกชนในทางกฎหมาย ภายในแห่งรัฐเจ้าของสัญชาติของปัจเจกชนนั้นด้วย 3. ปัจเจกชนในฐานะที่มีส่วนช่วยในการสร้างหลักเกณฑ์ในทางกฎหมาย ระหว่างประเทศ ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ในปัจจุบันปัจเจกชนได้เข้ามามีบทบาทที่สำ�คัญต่อ การพัฒนาหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในขอบเขตของกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล “private international law” ซึ่งมีพื้นฐานที่สำ�คัญมาจากฃการรับรองชีวิตของปัจเจกชนในทางระหว่างประเทศ และกฎหมายพาณิชย์ระหว่างประเทศ “International Commercial Law” เนื่องจาก ในปัจจุบันโลกได้เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งความไร้พรมแดน อันเป็นผลมาจากความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเศรษฐกิจ สังคม เทคโนโลยี การสื่อสาร การคมนาคมขนส่ง ซึ่งนับว่าเป็นปัจจัย สำ�คัญที่ทำ�ให้เกิดการขยายตัวของนิติสัมพันธ์ ทั้งในระดับรัฐกับรัฐ รัฐกับปัจเจกชน หรือแม้แต่ในระหว่างปัจเจกชนด้วยกันเอง อันมีลักษณะเป็น “นิติสัมพันธ์ข้ามชาติ” ซึ่งจากสภาพการณ์ดังกล่าวนับเป็นปัจจัยสำ�คัญที่ทำ�ให้การพัฒนากฎเกณฑ์ ในทางกฎหมายระหว่างประเทศเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้เพื่อให้กฎหมายระหว่าง ประเทศสามารถเป็นเครื่องมือในการควบคุมและตอบสนองกับพัฒนาการทางสังคม ระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนับว่าเป็นความมุ่งหมาย ที่สำ�คัญประการหนึ่งของกฎหมายระหว่างประเทศ ถึงแม้ว่าในระยะแรกบทบาทของ ปัจเจกชนในการสร้างกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศนั้นจะอยู่ในรูปของ ทางปฏิบัติเป็นสำ�คัญ ซึ่งไม่มีสภาพบังคับในทางกฎหมาย หากแต่เมื่อได้มีการปฏิบัติ อย่างต่อเนื่อง ทางปฏิบัติดังกล่าวก็เริ่มมีสภาพบังคับแต่ยังไม่ถึงขั้นเป็นกฎหมายหรือที่ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3