วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เรียกว่า “Soft Law” และเมื่อได้มีการนำ�ทางปฏิบัติที่เกิดจากการพัฒนาของปัจเจกชน มาจัดทำ�ให้อยู่ในรูปของกฎหมาย ก็จะทำ�ให้ทางปฏิบัติของปัจเจกชนเช่นว่านั้นกลาย เป็นกฎหมายที่มีสภาพบังคับ หรือที่เรียกว่า “Hard Law” ในที่สุด ดังที่จะเห็นได้จากมีการจัดทำ�อนุสัญญาระหว่างประเทศที่มีผลใช้บังคับ กับปัจเจกชนโดยตรงหลายฉบับ โดยเฉพาะในเรื่องที่เกี่ยวกับการค้า การลงทุน ระหว่างประเทศ ซึ่งล้วนแต่มีพื้นฐานมาจากทางปฏิบัติของปัจเจกชน ตัวอย่างเช่น อนุสัญญาแห่งสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ “UN Convention on Contracts for International Sale of Goods” ค.ศ.1988 โดยอนุสัญญา ฉบับนี้มีผลใช้บังคับกับสัญญาซื้อขายสังหาริมทรัพย์ระหว่างประเทศที่คู่สัญญา มีสถานประกอบกิจการอยู่คนละประเทศ แต่จะต้องเป็นประเทศแห่งรัฐภาคี หรือกฎเกณฑ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลได้ชี้ให้ใช้กฎหมาย แห่งรัฐคู่ภาคีนั้น 22 จากอนุสัญญาฉบับดังกล่าวข้างต้น จะเห็นได้ว่าแม้สัญญาซื้อขายระหว่าง ประเทศจะเป็นประเด็นปัญหาที่อยู่ในขอบเขตของนิติสัมพันธ์ในระหว่างปัจเจกชน โดยแท้ หากแต่กฎหมายระหว่างประเทศก็ได้ให้การรับรองหลักเกณฑ์ดังกล่าว อันเป็น ผลสืบเนื่องมาจากการกระทำ�ของปัจเจกชนในทางระหว่างประเทศ ตามนัยนี้ปัจเจกชน จึงเป็นผู้มีส่วนช่วยในการสร้างและพัฒนาหลักเกณฑ์ในทางกฎหมายระหว่างประเทศ ภายใต้บริบทของกฎหมายระหว่างประเทศปัจจุบันด้วยในอีกฐานะหนึ่ง 22 UN Convention on Contracts for International Sale of Goods 1980, Article 1 stated that : (1) วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3