วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

3) ผลกระทบของการเก็งกำ�ไรและการลอยตัวค่าเงินบาท ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ.2540 นักเก็งกำ�ไรชาวต่างชาติได้ตระหนักว่า ฟองสบู่ กำ�ลังจะแตกซึ่งมีผลกระทบต่อเงินบาท รัฐบาลไทยจึงใช้ 90% ของเงินคลังต่างประเทศ มาช่วยเงินบาททำ�ให้ค่าเงินบาทร่วงลงไป 25 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ หรือ 1 ดอลลาร์ มีค่าเท่ากับ 52 บาท อันนำ�ไปสู่ผลร้ายแรงต่อต้นทุนที่ต้องจ่ายคืนจากที่บริษัทและ สถาบันทางการเงินของไทยได้ไปกู้ยืมต่างชาติมา ทำ�ให้สถาบันทางการเงินมีหนี้สิน มากมายและหลายบริษัทประกาศล้มละลาย เนื่องจากยอดกู้ที่ทะยานสูงขึ้น ความ ตระหนกต่อเศรษฐกิจไทยที่แพร่กระจายในหมู่นักลงทุนทำ�ให้มีการเทขายสกุลเงินไทย และหุ้นบนตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ส่งผลให้ตลาดหุ้น (SET) ตกจาก ระดับ 787 ในเดือนมกราคม พ.ศ.2540 ไปยัง 337 ปลายเดือนธันวาคมในปีเดียวกัน นั้นเอง วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ.2540 รัฐบาลไทยเปลี่ยนวิธีคิดอัตราแลกเปลี่ยนจาก คงที่เป็นลอยตัวเพื่อแก้วิกฤตินี้ และยังขอความช่วยเหลือทางเทคนิค (Technical Assistance) จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ซึ่งต่อมาประเทศไทยได้รับเงินกู้ 17 ล้านเหรียญสหรัฐจาก IMF ในวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2540 และตกลงใช้มาตร การทางเศรษฐศาสตร์เป็นการตอบแทน วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3