วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วพิพากษาว่า จำ�เลยมีความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 143 ประกอบมาตรา 83 เป็นการกระทำ�ความผิดหลายกรรม ลงโทษทุก กรรม เป็นกระทงความผิดไปตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 รวม 3 กระทง จำ�คุกกระทงละ 4 ปี รวมจำ�คุก 12 ปี จำ�เลยอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่า ลงโทษจำ�คุกจำ�เลยกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทงจำ�คุก 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำ�พิพากษาศาลชั้นต้น จำ�เลยฎีกา ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า “คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำ�คุกจำ�เลยกระทง ละ 4 ปี รวม 3 กระทง จำ�คุก 12 ปี และศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าจำ�คุก จำ�เลยกระทงละ 2 ปี รวม 2 กระทง จำ�คุก 4 ปี นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำ�พิพากษา ศาลชั้นต้น จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ลงโทษจำ�คุกจำ�เลย แต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำ�เลยฎีกาว่าพยานโจทก์ขัดแย้งกัน ไม่เพียงพอฟังเพื่อลงโทษจำ�เลยนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ศาลชั้นต้นรับฎีกาในปัญหาข้อนี้มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้” มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำ�เลยประการแรกว่า นาย ธ. ไม่ใช่พนักงานอัยการเจ้าของสำ�นวนในคดีที่นาย ร. ถูกดำ�เนินคดีในข้อหาฐานชิงทรัพย์ จึงไม่มีอำ�นาจที่จะสั่งไม่ฟ้องคดีดังกล่าว และยังไม่ได้มีการให้เงินแก่กัน จึงไม่ครบ องค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 นั้น เห็นว่า การที่จำ�เลยเรียกและรับเงินไปจากผู้เสียหายทั้งสองเพื่อเป็นการตอบแทนในการที่จะ จูงใจเจ้าพนักงานในตำ�แหน่งพนักงานอัยการโดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมายเพื่อให้กระทำ� การในหน้าที่โดยการช่วยเหลือในทางคดีให้สั่งไม่ฟ้องในคดีที่นาย ร. ถูกดำ�เนินคดีอาญา แม้นาย ธ. จะมิได้เป็นเจ้าของสำ�นวนในคดีนั้นและจำ�เลยยังมิได้ให้เงินกันก็ตาม ก็ถือว่า นาย ธ. เป็นเจ้าพนักงานที่จำ�เลยจะจูงใจให้กระทำ�การในหน้าที่อันเป็นคุณแก่นาย ร. แล้ว การกระทำ�ของจำ�เลยจึงครบองค์ประกอบแห่งความผิดตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 143 แล้ว ฎีกาของจำ�เลยข้อนี้ฟังไม่ขึ้น วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3