วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

มีปัญหาข้อกฎหมายต้องวินิจฉัยตามฎีกาของจำ�เลยที่ว่า โจทก์ร่วมทั้งสอง มิใช่ผู้เสียหายจึงไม่อาจเข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการได้นั้น เห็นว่า ความผิดฐาน เรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินเพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำ�การตามประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 143 ไม่ใช่ความผิดต่อสาธารณชน แต่เป็นความผิดเกี่ยวกับรัฐ โดยตรง โจทก์ร่วมทั้งสองจึงมิใช่ผู้เสียหายตามกฎหมายจึงไม่อาจเข้าร่วมเป็นโจทก์ในคดี นี้ได้ ฎีกาของจำ�เลยข้อนี้ฟังขึ้น พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ยกคำ�ร้องขอเข้าร่วมเป็นโจทก์ของผู้เสียหายทั้งสอง นอกจากที่แก้ให้เป็นไปตามคำ�พิพากษาศาลอุทธรณ์ ภาค 9 1) ประเด็นข้อกฎหมาย มาตรา 143 แห่งประมวลกฎหมายอาญา บัญญัติว่า “ผู้ใดเรียก รับ หรือยอม จะรับทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดสำ�หรับตนเองหรือผู้อื่น เป็นการตอบแทนในการ ที่จะจูงใจหรือได้จูงใจเจ้าพนักงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ สมาชิกสภาจังหวัด หรือสมาชิกสภาเทศบาล โดยวิธีอันทุจริตหรือผิดกฎหมาย หรือโดยอิทธิพลของตนให้ กระทำ�การหรือไม่กระทำ�การในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใด ต้องระวาง โทษจำ�คุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือทั้งจำ�ทั้งปรับ” ในความผิดฐานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำ�การในหน้าที่ หรือความผิดฐานเป็นคนกลางเรียก รับ หรือยอมจะรับสินบนตามมาตรา 143 มีองค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบภายนอก (1) ผู้ใด (ผู้กระทำ�) (2) เรียก รับ หรือยอมจะรับ สำ�หรับตนเองหรือผู้อื่น (การกระทำ�) (3) ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใด (วัตถุแห่งการกระทำ�) (4) เป็นการตอบแทนในการที่จะจูงใจหรือได้จูงใจ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3