วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คดีบิดามารดาฟ้องอีกฝ่ายเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรขณะยังเป็นผู้เยาว์ (ยช.9/2540) โจทก์ซึ่งเป็นมารดาฟ้องเรียกบุตรผู้เยาว์คืนจากจำ�เลยซึ่งเป็นผู้ที่โจทก์ กับสามีตกลงกันเองให้บุตรผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของจำ�เลย โดยอ้างว่าโจทก์เป็น ผู้ใช้อำ�นาจปกครองแต่เพียงผู้เดียว เป็นการฟ้องต่อศาลเกี่ยวกับครอบครัวหรือผู้เยาว์ (ยช.1/2540) เป็นคดีครอบครัว ส่วนคดีแพ่งที่มารดาฟ้องเรียกมรดกแทนบุตรผู้เยาว์ ไม่ใช่คดีครอบครัวตาม มาตรา 11 (3) ไม่อยู่ในอำ�นาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว (เทียบ ฎ.306/2507) หรือคดีที่โจทก์ฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนรับโอน มรดกของจำ�เลย และให้ใส่ชื่อโจทก์ในโฉนดเป็นผู้มีกรรมสิทธิ์ร่วมด้วยครึ่งหนึ่งนั้น ถึงแม้จำ�เลยบางคนจะเป็นผู้เยาว์ ก็มิใช่คดีครอบครัว (เทียบ ฎ.2786/2523) เป็นต้น คดีที่ถือว่าเป็นคดีครอบครัว 1. คดีเกี่ยวด้วยการสมรส รวมทั้งกรณีคู่หมั้น สามีภริยา บิดามารดากับบุตร พิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่กันตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 ทั้งหมด 1.1 คดีฟ้องเรียกสินสอดคืนตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับกรณีไม่มีการสมรส เป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิเรียกคืนทรัพย์สินตาม ป.พ.พ. มาตรา 2437 2 เมื่อเป็นคดีครอบครัว แม้มีการฟ้องบุคคลอื่นมาด้วย เช่น ชายที่ได้ร่วมประเวณี กับหญิงคู่หมั้นโดยรู้อยู่ว่าหญิงได้หมั้นกับชายคู่หมั้นแล้ว ให้ร่วมรับผิดใช้ค่าทดแทน ก็ถือว่าเป็นคดีที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. มาตรา 1437, 1440, 1444 และ 1445 จึงเป็นคดีครอบครัว 3 คดีที่ได้ความว่าไม่ได้มีการมอบของหมั้นให้แก่กัน (เทียบ ยช.66/2553) หรือ โจทก์จำ�เลยไม่มีเจตนาจดทะเบียนสมรสกันตามกฎหมาย แม้มีการให้สินสอดแก่กัน และภายหลังมีการเรียกร้องขอสินสอดคืน คดีก็ไม่อยู่ในอำ�นาจพิจารณาพิพากษาคดี ของศาลเยาวชนและครอบครัว 4 2 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.10/2542, ยช.26/2544 3 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.14/2540 4 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.18/2553 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3