วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
พิพากษาคดีในศาลอุทธรณ์ได้ตามกฎหมาย แม้จะมิได้เป็นเจ้าของสำ�นวนหรือ องค์คณะที่พิจารณพิพากษาคดีนั้น ก็ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานที่จำ�เลยจะจูงใจให้กระทำ� การในหน้าที่อันเป็นคุณหรือเป็นโทษแก่ ท. กับพวกแล้วการกระทำ�ของจำ�เลยจึงเป็น ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 143 อย่างไรก็ตาม หากเป็นกรณีที่คนกลางเรียกและรับเงินจากผู้ให้ ซึ่งผู้ให้มี คดีอยู่ในศาลอุทธรณ์ โดยคนกลางอ้างกับผู้ให้ว่าจะติดต่อวิ่งเต้นให้ผู้พิพากษาคนหนึ่ง ช่วยเหลือผู้ให้นั้นชนะคดีในชั้นศาลอุทธรณ์ได้ แต่แท้จริงแล้วบุคคลที่คนกลางอ้างว่าจะ ไปให้ช่วยวิ่งเต้นให้เป็นเพียงราษฎรมิได้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จึงไม่ใช่เจ้าพนักงาน ที่คนกลางจะจูงใจให้พิพากษาในชั้นอุทธรณ์ ให้เป็นคุณแก่ผู้ให้ได้ ฉะนั้นคนกลางจึง ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 143 แห่ง ประมวลกฎหมายอาญา ทั้งนี้ ตามคำ�พิพากษาศาล ฎีกาที่ 5174/2533 วินิจฉัยว่า “จ. เป็นสามี ล. ที่จำ�เลยที่ 2 พา น. ไปติดต่อเพื่อจะ ขอให้ช่วยวิ่งเต้นให้ น. ชนะคดีในชั้นอุทธรณ์ ไม่ได้เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ จ. จึงไม่ใช่ เจ้าพนักงานที่ ล. หรือจำ�เลยคนหนึ่งคนใดจะพึงจูงใจให้กระทำ�การหรือไม่กระทำ�การ ในหน้าที่โดยพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์ให้เป็นคุณหรือเป็นโทษแก่บุคคลใดอันเป็นองค์ ประกอบของความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 143 ได้” 3) ตัวอย่างคำ�พิพากษาศาลฎีกาตามมาตรา 143 ความผิด ฐานเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใด เพื่อให้เจ้าพนักงานกระทำ�การในหน้าที่ คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 988/2551 วินิจฉัยว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่า ร้อยตำ�รวจเอก ส. เป็นพนักงานสอบสวนในคดีที่ ต. ถูกจับกุมดำ�เนินคดีอาญา จำ�เลยเรียกและรับเงินจำ�นวน 5,000 บาท จาก ต. และ น. เพื่อเป็นการตอบแทนที่ จำ�เลยจะจูงใจร้อยตำ�รวจเอก ส. โดยวิธีอันทุจริตผิดกฎหมาย เพื่อให้ร้อยตำ�รวจเอก ส. กระทำ�การในหน้าที่อันเป็นคุณแก่ ต. โดยการช่วยเหลือในทางคดี เพื่อทำ�ให้ ต. หลุดพ้นจากความผิด เป็นการบรรยายฟ้องให้เห็นถึงการกระทำ�และเจตนาของ จำ�เลยว่าจำ�เลยเจตนาเรียกเอาเงินจากผู้เสียหายเป็นการตอบแทนในการที่จำ�เลย อ้างว่าจะจูงใจเจ้าพนักงานไม่ให้ดำ�เนินคดีแก่ ต. และปล่อยตัวให้หลุดพ้นจากคดีอาญา วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3