วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2522 วินิจฉัยว่า ศาลฎีกาวินิจฉัยข้อ กฎหมายฟังได้ว่าจำ�เลยทั้งสองร่วมกันเรียกและรับเงินจากนาย ห. นาง บ. โดยอ้างว่า จะเอาไปให้นาย เพื่อช่วยให้นาย ห. พ้นจากคดีที่ต้องหาจริง ส่วนคำ�ว่า “นาย” ที่จำ�เลย อ้างหมายถึงบุคคลใดนั้น โจทก์มีพันตำ�รวจตรี ก. เบิกความว่าในท้องถิ่นจังหวัดที่เกิด เหตุเรียกข้าราชการสัญญาบัตรว่า “เจ้านาย” ร้อยตำ�รวจเอก ส. เบิกความว่า คำ�ว่า “นาย” ที่ใช้ในท้องถิ่นเกี่ยวกับการสอบสวน คงหมายถึงพนักงานสอบสวน แต่อาจ หมายถึงพนักงานฝ่ายปกครองหรือฝ่ายต่าง ๆ ด้วย และร้อยตำ�รวจตรี ว. พนักงาน สอบสวนเบิกความว่า “นาย” ในคดีนี้หมายถึงพนักงานสอบสวนเพราะคดีอยู่ที่ พนักงานสอบสวน ดังนี้แม้คำ�ว่า “นาย” อาจหมายถึงข้าราชการทั่ว ๆ ไปด้วยก็ตาม แต่คดีนี้จำ�เลยเรียกเงินไปให้นาย เพื่อช่วยให้นาย ห. พ้นจากคดีที่อยู่ในชั้นสอบสวน และนาย ห. นาง บ. ยินยอมให้เงินไป จึงเป็นเข้าใจกันระหว่างจำ�เลยกับนาย ห. นาง บ. ว่า “นาย” ที่จำ�เลยอ้างหมายถึงพนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอำ�นาจดำ�เนินคดี กับนาย ห. นั่นเอง หาอาจหมายถึงบุคคลอื่นที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่มีอำ�นาจหน้าที่ในคดี ที่นาย ห. ต้องหา อันจะทำ�ให้การกระทำ�ของจำ�เลยมิใช่กระทำ�ไปเพื่อจูงใจเจ้าพนักงาน ดังจำ�เลยฎีกาไม่ ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำ�เลยเรียกเงินเพื่อเป็นการตอบแทนในการ จะจูงใจพนักงานสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้มีอำ�นาจดำ�เนินคดีกับนาย ห. โดยวิธีอัน ทุจริตหรือผิดกฎหมายให้กระทำ�หรือไม่กระทำ�การในหน้าที่ ให้นาย ห. พ้นข้อกล่าวหา และพิพากษาลงโทษจำ�เลยตามฟ้องศาล ฎีกาเห็นพ้องด้วย ข้อสังเกต สำ�หรับคำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 2354/2522 ท่านศาสตราจารย์ จิตติ ติงศภัทิย์ หมายเหตุไว้ท้ายคำ�พิพากษาศาลฎีกาว่า “เพียงแต่ข้อเท็จจริงว่าจำ�เลย รับเงินไปว่าจะเอาไปให้พนักงานสอบสวนเพื่อช่วยให้พ้นคดีที่ต้องหา ก็แสดงอยู่ในตัว ว่าเป็นการเรียกประโยชน์เป็นการตอบแทนการที่จะจูงใจเจ้าพนักงานโดยผิดกฎหมาย ครบองค์ประกอบตามมาตรา 143” วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3