วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

4) ตัวอย่างคำ�พิพากษาศาลฎีกาตามมาตรา 167 ความผิดฐานให้ ขอให้ หรือรับว่าจะให้ทรัพย์สินแก่เจ้าพนักงานในการยุติธรรม คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 8181/2547 วินิจฉัยว่า คำ�ว่า “พนักงานสอบสวน” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 167 มีความหมายว่า ต้องเป็นพนักงานสอบสวน ผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเท่านั้น ดังนั้น การให้เงินแก่เจ้าพนักงานตำ�รวจซึ่งไม่ได้เป็น พนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบในคดีนั้นเพื่อให้ช่วยเหลือไม่ดำ�เนินคดี จึงมิใช่เป็น การให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์อื่นใดแก่พนักงานสอบสวนตามความหมายของ บทบัญญัติดังกล่าว จึงไม่มีความผิดตามมาตรานี้ คงมีความผิดตามมาตรา 144 เท่านั้น คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 3700/2529 วินิจฉัยว่า ข้อความในจดหมายที่จำ�เลย เขียนถึง บ. พนักงานสอบสวน มีลักษณะขอร้องให้ บ. ช่วยเปรียบเทียบปรับผู้ต้องหา ให้คดีเสร็จเด็ดขาดไปในชั้นสถานีตำ�รวจโดยไม่ต้องให้คดีถึงศาลเท่านั้น เพื่อทั้งฝ่าย ผู้ต้องหาและฝ่ายเจ้าพนักงานตำ�รวจจะได้ไม่เสียเวลาและเป็นการประหยัด เพราะ จำ�เลยมีความเห็นว่าไม่ว่าจะชั้นศาลหรือชั้นสถานีตำ�รวจก็ถูกลงโทษปรับเหมือนกัน จึงไม่พอแปลความหมายได้ว่าจำ�เลยขอให้หรือรับว่าจะให้เงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ อื่นใดแก่ บ. เพื่อจูงใจไม่ให้ดำ�เนินคดีแก่ผู้ต้องหาดังกล่าว อันจะเป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 144, 167 5 ตัวอย่างคำ�พิพากษาศาลฎีกาตามมาตรา 201 ความผิดฐาน เจ้าพนักงานในการยุติธรรมเรียก รับ หรือยอมจะรับทรัพย์สิน คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 931/2532 วินิจฉัยว่า จำ�เลยเป็นพนักงานสอบสวน บอกให้ ล. ลงลายมือชื่อแทน ท. ได้ ล. จึงปลอมลายมือชื่อ ท. ลงในคำ�ร้องขอประกัน แล้วจำ�เลยร่วมกับ ล. ขอประกันตัว อ. ผู้ต้องหาในคดีอาญา โดยใช้โฉนดที่ดินของ ท. เป็นหลักทรัพย์ เสนอต่อพันตำ�รวจตรี ช. จนพันตำ�รวจตรี ช. อนุญาตให้ประกันตัว อ. ได้ การกระทำ�ของจำ�เลยจึงเป็นความผิดฐานร่วมกันทำ�เอกสารปลอมกระทงหนึ่ง และ ฐานใช้เอกสารปลอมอีกกระทงหนึ่ง และการที่จำ�เลยเป็นพนักงานสอบสวน มีหน้าที่ เสนอความเห็นต่อผู้บังคับบัญชาเกี่ยวกับการอนุญาตให้ประกัน อ. ทั้ง ๆ ที่รู้ว่า ล. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3