วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
1.2 คำ�ฟ้องที่อ้างว่าการสมรสระหว่างโจทก์กับสามีเป็นการสมรสซ้อนตก เป็นโมฆะขอให้พิพากษาว่าการสมรสเป็นโมฆะ และขอให้เพิกถอนนิติกรรมที่สามี โจทก์ยินยอมให้จำ�เลยถือกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินโดยมิได้รับความยินยอมจากโจทก์ อันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการจัดการสินสมรสตามมาตรา 1480 5 1.3 การที่โจทก์ซึ่งจดทะเบียนสมรสกับจำ�เลยยื่นฟ้องขอให้เพิกถอน การจดทะเบียนสมรสระหว่างโจทก์จำ�เลย โดยอ้างว่าการสมรสระหว่างโจทก์และจำ�เลย ขาดเจตนาในการจดทะเบียนสมรสกันจริง แต่กระทำ�เพื่อเป็นนิติกรรมอำ�พรางญาติ ผู้ใหญ่ เป็นกรณีอ้างว่าการสมรสฝ่าฝืนเงื่อนไขที่ชายหญิงต้องยินยอมเป็นสามีภริยา กันตาม ป.พ.พ. มาตรา 1458 อันเป็นบทบัญญัติในบรรพ 5 จึงเป็นคดีครอบครัวตาม มาตรา 10(3) 6 1.4 คดีที่ฟ้องขอให้บังคับถึงความสัมพันธ์ในทางทรัพย์สินระหว่างสามีภริยา (เทียบ ยช.24/2544, ยช.32/2540) เช่น คดีที่สามีหรือภริยาฟ้องอีกฝ่ายขอให้ใส่ชื่อตนใน ทะเบียนกรรมสิทธิ์ที่ดิน (ยช.10/2543) คดีที่ฟ้องกล่าวอ้างว่าอีกฝ่ายจัดการสินสมรส เป็นที่เสียหายและมีพฤติการณ์จะทำ�ความหายนะแก่สินสมรส ขอให้ตนมีอำ�นาจจัด การสินสมรสแต่ผู้เดียว (ยช.2/2543) หรือแยกสินสมรส (ยช.7/2554) หรือคดีที่ คู่สมรสฟ้องผู้มีชื่อเป็นจำ�เลยอ้างว่าคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งของตนนำ�เงินที่เป็นสินสมรส ไปซื้อที่ดิน ใส่ชื่อจำ�เลยเป็นเจ้าของ ขอให้เพิกถอนชื่อหรือให้ใช้ราคา (ยช.14/2541) หรือฟ้องขอแบ่งทรัพย์สิน โดยอ้างว่ามีบันทึกข้อตกลงเรื่องทรัพย์สินระหว่างที่เป็น สามีภริยากัน ถือว่าเป็นคดีฟ้องในเรื่องสัญญาที่เกี่ยวกับสินสมรสระหว่างสามีภริยา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1465 และมาตรา 1469 จึงเป็นคดีครอบครัว 7 1.5 คดีที่สามีหรือภริยาฟ้องคู่สมรสอีกฝ่ายขอให้เพิกถอนนิติกรรมเกี่ยวกับ สินสมรสที่กระทำ�ไปในระหว่างสมรสโดยมิได้รับความยินยอมของตน 8 1.6 คดีที่สามีและภริยาฟ้องอีกฝ่าย อ้างว่าการหย่าไม่มีผลสมบูรณ์เพราะ การหย่าเกิดจากการข่มขู่ 9 5 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.10/2539 6 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.5/2545 7 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.16/2541 8 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.8/2554, ยช.23/2544, ยช.1/2544, ยช.26/2553 9 เทียบคำ�วินิจฉัย ยช.5/2541 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 4 ฉบับที่ 6 มกราคม - ธันวาคม 2556
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3