วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

2) อาชญากรรมที่มีความสลับซับซ้อนและมีความพิเศษในพื้นที่ เมื่อสภาพที่ เป็นพื้นที่ชายแดน เช่น การลักลอบนำ�สินค้าเข้ามาโดยเสียภาษีไม่ถูกต้อง ไม่ผ่านด่าน ศุลกากร หรือการค้าของเถื่อน น้ำ�มันเถื่อน และเนื่องจากพื้นที่ติดกับมาเลเซียก็มี หวยมาเลเซียเข้ามา หวยใต้ดิน นอกจากนั้นยังมีเรื่องของปัญหายาเสพติด อาชญากรรม ที่ซับซ้อนในระดับนี้กระทบต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม ความเสียหายอาจจะไม่ชัด ในรายบุคคล แต่เกิดความเสียหายต่อสังคมและเศรษฐกิจโดยรวม 3) อาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อความมั่นคง ซึ่งอาจจะถือว่าขณะนี้เป็น ปัญหาเฉพาะของพื้นที่ จังหวัดชายแดนภาคใต้ เช่น เรื่องของการก่อการร้าย การแบ่งแยก ดินแดน การใช้กำ�ลังประทุษร้ายก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง แต่ไม่ถึงกับสงคราม (War) หรือความขัดแย้งด้านอาวุธ (Armed Conflict Situation) 6 4) อาชญากรรมที่เป็นความผิดเกี่ยวกับการปกครอง เช่น ความผิดที่เกี่ยว กับการกระทำ�ต่อสู้ขัดขวางเจ้าหน้าที่ ทำ�ให้เสียทรัพย์ซึ่งมีไว้เพื่อประโยชน์ที่สาธารณะ เป็นต้น 2. การบังคับใช้กฎหมายพิเศษในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากปัญหาการดำ�เนินกระบวนการยุติธรรมที่ไม่เป็นไปตามหลักกฎหมาย แล้ว ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังมีปัญหาอันเกิดจากการใช้กฎหมายพิเศษเพิ่มขึ้น มาอีก โดยเฉพาะผลจากการประกาศใช้กฎอัยการศึก พุทธศักราช 2457 และ พระราชกำ�หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 ดังนี้ คือ ภาคประชาชนยังมองว่าเป็นการส่งเสริมการใช้ความรุนแรงในการแก้ไขปัญหา พนักงานเจ้าหน้าที่ และผู้มีอำ�นาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม พระราชบัญญัตินี้ ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่งทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจาก การปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำ�ผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำ� ที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติและไม่เกินสมควรแก่เหตุ หรือไม่เกินกว่ากรณีจำ�เป็น ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ 7 หลักกฎหมายเช่นนี้ อาจจะเป็นการให้ท้ายหรือส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหาได้ 6 Model Legislative Provisions against Terrorist – Article 15 Terrorist Acts (Option A) 7 พระราชกำ�หนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 มาตรา 17 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3