วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เพื่อสืบทอดเป็นรุ่นๆ ต่อไป ประกอบกับสภาพพื้นที่พรมแดนระหว่างประเทศไทยและ ประเทศมาเลเซีย ง่ายต่อการหลบหนีหลังจากก่อเหตุร้าย ทั้งนี้ที่ผ่านมาการก่อความไม่สงบ มีลักษณะกระจายพื้นที่ โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะตอบโต้ก่อกวนสร้างความสับสนต่อ หน้าหน้าที่รัฐ ซึ่งจะส่งผลด้านจิตวิทยา และความเชื่อมั่นของประชาชนต่อรัฐบาล 9 สำ�หรับปัจจัยภายนอกที่ก่อให้เกิดเหตุการณ์รุนแรงขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากกระแสใน ตะวันออกกลางต่อต้านชาติตะวันตก โดยเฉพาะประเทศสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร อาจทำ�ให้กลุ่มก่อการร้ายเข้ามาแสวง ประโยชน์จากสถานการณ์ในภาคใต้ได้ ประกอบมี เงื่อนไขการที่ไทยส่งทหารไปร่วมฟื้นฟูประเทศอิรักเหตุการณ์ความไม่สงบในพื้นที่ สามจังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าการปล้นอาวุธปืนของทางราชการ วางเพลิงโรงเรียนและอาคารสถานที่ตลอดจนทรัพย์สินของทางราชการ ยิงและทำ�ร้าย เจ้าหน้าที่รัฐ พระภิกษุและผู้นับถือศาสนาพุทธรวมทั้งประชาชนที่นับถือศาสนาอิสลาม ถือเป็นการใช้ความรุนแรงอย่างเป็นระบบ (Systematic use of Violence) 10 การไม่สามารถแก้ปัญหาอาชญากรรมที่เกิดขึ้นซ้ำ�ซากเป็นการบ่อนทำ�ลาย อำ�นาจรัฐ 11 สำ�หรับการดำ�เนินการของเจ้าหน้าที่ต้องพบอุปสรรคคือการไม่ได้รับ ความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ ปัญหาที่เกิดขึ้นจึงยากต่อการแก้ไขและทำ�ให้ เกิดเหตุการณ์รุนแรงนับวันจะซับซ้อนมากขึ้น จากเหตุการณ์ในอดีตเอง กรณีตากใบ 12 ว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมดรวม 84 คน 13 โดยผู้ที่เสียชีวิตนั้นเกิดจากขาดอากาศหายใจ ระหว่างการควบคุมตัวไปจังหวัดปัตตานี เพราะอยู่ในระหว่างช่วงถือศีลอดบุคคล ดังกล่าวอ่อนเพลีย เพราะได้ทำ�การประท้วงตลอดเกือบทั้งวัน โดยไม่ได้รับอาหาร และน้ำ� และการควบคุมตัวดังกล่าวนั้น ยานพาหนะไม่เพียงพอ ทำ�ให้เกิดการแออัด ในระหว่างขนส่ง จากเหตุการณ์ดังกล่าว ก่อให้เกิดความเคลือบแคลงสงสัยแก่ประชาชน จำ�นวนมากว่าเหตุใดไม่ประกาศรายชื่อผู้ถึงแก่ความตายตั้งแต่เริ่มต้นเพิ่งมาประกาศ ในภายหลัง และก่อให้เกิดข่าวลือที่แตกต่างกันมากมายในพื้นที่ จนไม่สามารถหยุดยั้งได้ อันเป็นการกระพือโหมความไม่พอใจให้แก่ญาติผู้ตายและผู้ถูกจับกุม 9 ศุภรา จันทร์ชิดฟ้าฬ. (2549). ความรุนแรงในสายหมอก : สิ่งที่เห็นและเป็นไปในสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ : โครงการจัดพิมพ์คบไฟ,หน้า 90-93 10 James M. Polan.(1988).Understanding Terrorism : Groups, Strategies, and Respond, united State of America: Prentice-Hall Inc.,p 5 11 โคทม อารียา.(2551). “สู่ประชาธิปไตยที่ปลดปล่อย : ความสำ�คัญของการถ่ายโอนอำ�นาจ กรณีจังหวัดชายแดนใต้ มินดาเนาและปาปัวตะวันตก” ในรายงานการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคโครงการประชาธิปไตย ความขัดแย้ง และความมั่นคงของมนุษย์, มกราคม 2550. กรุงเทพฯ : ศูนย์ศึกษาและพัฒนาสันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล, หน้า 21-22 12 เมธี ศรีอนุสรณ์.(2552). “เหตุตาย ที่ตากใบ” วารสารกฎหมายใหม่. กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์เดือนตุลา จำ�กัด, หน้า 4-15 13 สุภาลักษณ์ กาญจนขุนดี.(2547). สันติภาพในเปลวเพลิง. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์เนชั่นบุคส์, หน้า 155 –175 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557 

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3