วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
เนื่องจากการก่อความรุนแรงต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพและทรัพย์สิน ในจังหวัด ชายแดนภาคใต้เป็นการกระทำ�ที่เป็นภัยร้ายแรงต้องแก้ไขให้ยุติลงโดยเร็ว จึงมีความจำ�เป็น ต้องออกกฎหมายป้องกันและปราบปรามการก่อการร้ายเพื่อรักษาความปลอดภัยของ ประเทศและความปลอดภัยสาธารณะ 14 ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงได้บัญญัติความผิดการก่อ การร้าย ขึ้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2546 โดยตราเป็นพระราชกำ�หนดแก้ไข เพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญาเกี่ยวกับเรื่องการป้องกันการก่อการร้าย ต่อมาเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ช่วงเวลา 19.30 น. ได้เกิดเหตุระเบิด ขึ้น 5 จุดรอบเมืองเทศบาลจังหวัดยะลา โดยวันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 คณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ออก “พระราชกำ�หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548” โดยยกเลิกพระราชบัญญัติฉบับเดิม (ปี พ.ศ. 2495) และออกเป็น พระราชกำ�หนด เพื่อมอบอำ�นาจให้นายกรัฐมนตรีมีสิทธิประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน และโอนอำ�นาจของทุกฝ่ายเพื่อแก้สถานการณ์มาอยู่ที่นายกรัฐมนตรี โดยถือว่า “สถานการณ์ที่ยะลา” เป็นเหตุฉุกเฉินจำ�เป็นรีบด่วนที่จะออกเป็น “พระราชกำ�หนด” ได้ตามเงื่อนไขของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 218 กฎอัยการศึก เป็นกฎหมายที่ออกมาตั้งแต่ พ.ศ. 2475 โดยจะใช้บังคับก็ต่อ เมื่อมีการประกาศสงครามหรือเกิดสถานการณ์สงครามขึ้นแม้มิได้มีการประกาศ สงครามต่อกัน ในทางปฏิบัติจะมีการประกาศใช้กฎอัยการศึกด้วยเพื่อให้เจ้าหน้าที่ ฝ่ายทหารสามารถใช้อำ�นาจพิเศษบางประการ พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 นั้นเป็นกฎหมายที่เพิ่งตราออกมาบังคับใช้เฉพาะในกรณีที่ปรากฏเหตุการณ์อันกระทบ ต่อความมั่นคงในราชอาณาจักร แต่ยังไม่มีความจำ�เป็นต้องประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน ตามกฎหมายว่าด้วยการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน และเหตุการณ์นั้นมี แนวโน้มที่จะมีอยู่ต่อไปเป็นเวลานาน ซึ่งก็รวมถึงสถานการณ์การก่อการร้ายใน พื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ด้วย โดยฝ่ายนิติบัญญัติได้เห็นชอบบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวและได้ตราออกมาบังคับใช้ในรูปของพระราชบัญญัติ 14 หมายเหตุท้าย พระราชกำ�หนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2546 (ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 120 ตอนที่ 76 ก วันที่ 11 สิงหาคม 2546 ) วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3