วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
การกำ�หนดระดับการใช้อำ�นาจตามความร้ายแรงของสถานการณ์ สำ�หรับพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 พระราชกำ�หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 และกฎอัยการศึก พุทธศักราช 2475 นั้นมีจุดร่วมที่เหมือนกันคือกฎหมายได้กำ�หนดระดับการใช้อำ�นาจ ตามความร้ายแรงของสถานการณ์ไว้ โดยพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายใน ราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 นั้นจะนำ�มาใช้ในภาวะที่ไม่ปกติแต่ยังไม่มีความจำ�เป็นต้อง ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินส่วนพระราชกำ�หนดการบริหารราชการในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 นั้นจะนำ�มาบังคับใช้เมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉินหรือสถานการณ์ที่ มีความร้ายแรงเกิดขึ้นในขณะที่กฎอัยการศึกใช้ในสภาวะสงครามจลาจล ที่ให้อำ�นาจ ทหารในการประกาศและบังคับใช้กฎหมาย ในหลักการและเหตุผลของพระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราช อาณาจักร พ.ศ. 2551 ได้กล่าวถึงคำ�นิยามคำ�ว่า “การกระทำ�อันเป็นภัยต่อความมั่นคง ในราชอาณาจักร” ว่าหมายถึง “การกระทำ�ใดๆ อันเป็นการทำ�ลายหรือทำ�ความเสียหาย ต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐไม่ว่าจะเป็นจารกรรม การก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การก่ออาชญากรรมข้ามชาติ การบ่อนทำ�ลาย การโฆษณาชวนเชื่อ การยุยง การปลุกปั่น การใช้กำ�ลังประทุษร้าย โดยมีเจตนา มุ่งหมายให้เกิดความไม่สงบสุขในชีวิตของประชาชน หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ต่อความมั่นคงของรัฐ” ส่วนพระราชบัญญัติกฎอัยการศึกไม่ได้มีการให้คำ�นิยามของ คำ�จำ�กัดความที่เป็นเหตุให้การบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวไว้แต่ก็ได้บัญญัติให้ใช้ได้ ในกรณี “เมื่อเวลามีเหตุอันจำ�เป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัยซึ่งจะมีมา จากภายนอกหรือภายในราชอาณาจักร ตามมาตรา 2 แห่ง พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457” จากคำ�นิยามดังกล่าวจะเห็นได้ว่ามีจุดร่วมที่เหมือนกันในความหมายของ คำ�ว่า “สถานการณ์ฉุกเฉิน” ตามมาตรา 4 แห่งพระราชกำ�หนดการบริหารในสถานการณ์ ฉุกเฉิน พ.ศ. 2548 โดยในพระราชกำ�หนดนี้ได้ให้คำ�นิยามว่า สถานการณ์ฉุกเฉินหมายถึง “สถานการณ์อันกระทบหรืออาจกระทบต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือ เป็นภัยต่อความมั่นคงของ รัฐหรืออาจทำ�ให้ประเทศหรือส่วนหนึ่งส่วนใดของ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3