วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
หรือโดดเดี่ยว(Sense of Alienation) เพราะในสถานการณ์จังหวัดชายแดนภาคใต้ ประชาชนมีความเป็นกลุ่มในลักษณะกลุ่มตามศาสนา ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มหลักได้ คือ กลุ่มอำ�นาจเก่า โดยขบวนการแนวร่วมปลดแอกแห่งชาติปัตตานี กลุ่มผู้นำ�ศาสนา นักวิชาการ โดยขบวนการแนวร่วมปฏิวัติแห่งชาติมลายูปัตตานี การกำ�หนดนโยบายทางอาญา มีความขัดแย้งของแนวคิดด้านปราบปราม อาชญากรรมอย่างมีประสิทธิภาพ (Crime Control Model) โดยที่เน้นหนักไปในทาง ป้องกันและการปราบปรามอาชญากรรม โดยเชื่อว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ ยุติธรรมอยู่ที่การควบคุม ระงับและปราบปรามอาชญากรรมเป็นหลักใหญ่ จะต้องมี สถิติการจับกุมผู้กระทำ�ความผิดและมีการพิพากษาลงโทษผู้กระทำ�ความผิดสูง เนื่องจากเจ้าหน้าที่ไม่สามารถควบคุมหรือปราบปรามอาชญากรรมหรือจับกุมผู้กระทำ� ความผิดมาลงโทษได้ ย่อมแสดงให้เห็นว่าความสงบเรียบร้อยของสังคมสูญสิ้นไป และเสรีภาพของประชาชนผู้สุจริตย่อมได้รับความกระทบกระเทือน การควบคุม อาชาญกรรมอย่างมีประสิทธิภาพจึงจำ�เป็นต้องการการดำ�เนินการที่มีประสิทธิภาพ ในระดับสูง ซึ่งในระบบกระบวนการทางอาญานั้น จะต้องมีการจับกุม การฟ้องร้อง และการพิจารณาผู้กระทำ�ความผิดอาญาได้เกือบทั้งหมด ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องรวมถึง การดำ�เนินการที่รวดเร็ว มีการดำ�เนินการในรูปแบบที่เป็นทางการน้อย และปราศจาก อุปสรรคที่กินเวลา การปฏิบัติงานของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีเหตุการณ์ ความไม่สงบจึงเป็นการทำ�งานของเจ้าหน้าที่ตำ�รวจ ทหาร และฝ่ายปกครองที่มี ประสิทธิภาพสูงเช่นนี้ ทำ�ให้มีผลการปราบปรามอาชญากรรมสูงตามไปด้วย แต่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ยังเป็นกระบวนการ ยุติธรรมที่มีแต่การดำ�เนินคดี (Litigation) 15 แต่เกือบจะไม่มีการบริหารงานยุติธรรม (Criminal Justice Administration) ซึ่งเรื่องของการดำ�เนินคดีอาญาในชั้นเจ้าพนักงาน เพราะหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมยังทำ�งานแบบแบ่งภาระขั้นตอนตามภารกิจหน้าที่ ในส่วนของการดำ�เนินคดีอาญาจะดำ�เนินไปตามขั้นตอนต่างๆ โดยมีกระบวนการ กลั่นกรอง (Screening Process) ในแต่ละขั้นตอนเพียงแค่นั้นยังไม่มีระบบประสาน อย่างชัดเจน 15 คณิต ณ นคร.(2557). อภิวัฒน์กระบวนการยุติธรรม. กรุงเทพฯ: วิญญูชน หน้า 50-51 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3