วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 คือ ต้องการให้ผู้ประสบภัย จากรถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นที่แน่นอนและทันท่วงที 2 อย่างไรก็ดี แม้เจตนารมณ์พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ต้องการให้ผู้ประสบภัยจากรถได้รับการชดใช้ค่าเสียหายและได้รับค่าเสียหายเบื้องต้น ที่แน่นอนและทันท่วงทีก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติยังคงมีปัญหาอยู่หลายประการ โดยเฉพาะในจังหวัดพัทลุง ซึ่งทำ�ให้ผู้ประสบภัยจากรถไม่ได้รับการชดใช้ค่าเสียหายที่ แน่นอนและทันท่วงทีตามเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 โดยละเอียดจะกล่าวต่อไปในบทความนี้ 2. ระบบหลักประกันสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับพระราชบัญญัติ คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 เนื่องจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 มุ่งคุ้มครอง ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บหรือชีวิตเนื่องจากประสบภัยจากรถ ซึ่งถือเป็นการให้หลักประกัน ด้านสุขภาพแก่ประชาชนอย่างหนึ่ง โดยเป็นการให้หลักประกันสุขภาพเฉพาะกรณีที่ เกี่ยวข้องกับอุบัติเหตุทางถนนเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม ระบบหลักประกันสุขภาพของ ไทยมีหลายระบบด้วยกัน ดังนั้น ความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัย จากรถ พ.ศ. 2535 จึงเกี่ยวข้องกับระบบหลักประกันสุขภาพอื่น ๆ ด้วย ดังนี้ 2.1 กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545 กำ�หนดหลักการให้บุคคลผู้มีสัญชาติไทยทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่คุณภาพ และมีประสิทธิภาพ แต่กระบวนการหรือขั้นตอนในการรับบริการ ประชาชนผู้มีสิทธิ ต้องดำ�เนินการตามขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ที่กำ�หนดด้วย เช่น ลงทะเบียนเลือกหน่วย บริการประจำ� เป็นต้น 2 เหตุผลท้ายพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 109 ตอนที่ 44 หน้า 56 วันที่ 9 เมษายน 2535. ค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2557. จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/ PDF/2535/A/044/45.PDF วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3