วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
สำ�รวจความคิดเห็นและผลกระทบของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการยุติธรรมทุกกลุ่ม ในลักษณะเสียงสะท้อนจากพื้นที่และจากผู้มีส่วนได้เสียโดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหาการบังคับใช้กฎหมายของเจ้าหน้าที่ในกระบวนการยุติธรรม ทางอาญาในสามจังหวัดชายแดนใต้ เพื่อศึกษากฎหมายพิเศษที่เกี่ยวข้องกับ การกระทำ�ความผิดทางอาญาในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ วิธีดำ�เนินการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิจัยเอกสาร (Documentary research) ข้อมูลระดับ ทุติยภูมิ (Secondary Data) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิจัยเอกสารกฎหมายต่าง ๆ และรวบรวมข้อมูลจากเอกสารทางวิชาการ บทความ วารสาร วิทยานิพนธ์ รายงาน การวิจัย ข้อมูลปฐมภูมิ(Primary Data) ข้อมูลภาคสนาม (1) สัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) โดยการใช้คำ�ถามปลายเปิดกับ ผู้ทรงคุณวุฒิที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ระดับบังคับบัญชาศูนย์ปฏิบัติการตำ�รวจชายแดนภาคใต้ (ศชต.) เจ้าหน้าที่ ตำ�รวจระดับผู้กำ�กับการสถานีตำ�รวจ เจ้าหน้าที่ระดับบังคับบัญชากองอำ�นวยการรักษา ความมั่งคงภายใน ภาค 4 ส่วนหน้า เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง และผู้บริหารในองค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (2) ประชุมกลุ่มสนทนากลุ่มเจาะจง (Focus Group) กับบุคลากรในกระบวนการ ยุติธรรมทางอาญา ประชาชนซึ่งเป็นผู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญา และผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนใต้ (จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา จังหวัดนราธิวาสและจังหวัดสงขลาบางส่วน) การวิเคราะห์ข้อมูล สำ�หรับการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้จากการสัมภาษณ์เชิงลึก และการประชุมกลุ่มสนทนาเจาะจงกลุ่มเจาะจงจะได้นำ�มาใช้ในการวิเคราะห์และ ประมวลผลข้อมูลร่วมกับการรวมรวมข้อมูลจากการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากเอกสาร ทางวิชาการโดยวิธีการวิเคราะห์ จะได้ดำ�เนินไปตามแนวทางการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative data) อันได้แก่ การพรรณนาข้อมูลตามปรากฏการณ์และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อแสวงหาข้อค้นพบจากการศึกษาวิจัยอันเป็นแนวทางนำ�ไปสู่แนวทางในการปรับปรุง กฎหมายหรือการบริหารงานยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป” วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3