วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ผลการวิจัย การบังคับใช้กฎหมายในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ พบว่าภาพรวมของสถานการณ์ตลอด 11 ปี ไฟใต้ 3 มีเหตุรุนแรงรูปแบบต่างๆ เกิดขึ้นทั้งสิ้น 13,470 เหตุการณ์ หรือเฉลี่ย 3.44 เหตุการณ์ต่อวัน แยกเป็นเหตุความมั่นคง ซึ่งหมายถึงเหตุรุนแรงที่กระทำ�โดยขบวนการก่อความไม่สงบ จำ�นวน 9,040 เหตุการณ์ หรือเฉลี่ย 2.25 เหตุต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นอาชญากรรมทั่วไป ส่วนในภาพรวมเหตุรุนแรง ตลอด 11 ปี ไฟใต้ 13,470 เหตุการณ์นั้น แยกเป็นประเภทของเหตุรุนแรงได้ดังนี้ โจมตีที่ตั้ง 34 เหตุการณ์ ซุ่มโจมตี 187 เหตุการณ์ ยิง 3,969 เหตุการณ์ ระเบิด 2,985 เหตุการณ์ วางเพลิง 1,475 เหตุการณ์ ฆ่าด้วยวิธีการทารุณกรรม 88 เหตุการณ์ ประสงค์ต่ออาวุธ 169 เหตุการณ์ ชุมชนประท้วง 65 เหตุการณ์ ทำ�ร้าย 46 เหตุการณ์ อื่นๆ 22 เหตุการณ์ ทางด้านสถิติความสูญเสีย จำ�นวนผู้เสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บตลอด 11 ปี ไฟใต้ มีผู้เสียชีวิต เฉพาะจากเหตุการณ์ความมั่นคง รวมทั้งสิ้น 3,661 คน แยกเป็น ประชาชนทั่วไป 2,389 คน คิดเป็นร้อยละ 65.25 ทหาร 500 นาย คิดเป็นร้อยละ 13.65 ตำ�รวจ 355 นาย คิดเป็นร้อยละ 9.69 ผู้นำ�ท้องถิ่น 226 คิดเป็นร้อยละ 6.17 ครูและบุคลากรทางการศึกษา 142 คน คิดเป็นร้อยละ 2.92 ผู้นำ�ศาสนา 19 คน คิดเป็นร้อยละ 0.51 เจ้าหน้าที่รถไฟ 4 คน ร้อยละ 0.11 และคนร้าย 61 คนคิดเป็น ร้อยละ 1.66 จำ�นวนผู้บาดเจ็บทั้งสิ้น 9,494 คน เฉพาะจากเหตุการณ์ความมั่นคง แยกเป็น ประชาชนทั่วไป 5,352 คน คิดเป็นร้อยละ 56.37 ทหาร 2,407 นาย คิดเป็นร้อยละ 25.35 ตำ�รวจ 1,386 นาย คิดเป็นร้อยละ 14.59 ผู้นำ�ท้องถิ่น 152 คิดเป็นร้อยละ 1.60 ครูและบุคลากรทางการศึกษา 124 คน คิดเป็นร้อยละ 1.30 ผู้นำ�ศาสนา 24 คน คิดเป็นร้อยละ 0.25 เจ้าหน้าที่รถไฟ 42 คน ร้อยละ 0.44 และคนร้าย 7 คนคิดเป็น ร้อยละ 0.07 3 ข้อมูลศูนย์ปฏิบัติการตำ�รวจจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศชต.) ระหว่าง 4 มกราคม 2547 ถึง 31 ธันวาคม 2557 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 5 ฉบับที่ 7 มกราคม - ธันวาคม 2557
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3