วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
โรคชอบขโมยของมีอยู่จริงหรือไม่? งานเขียนทางด้านการแพทย์และทางด้านกฎหมายได้มีการกล่าวถึง โรคชอบขโมยของมานานนับศตวรรษแรกเริ่ม Andre Matthey นายแพทย์ ชาวสวิสเซอร์แลน ใช้ค�ำว่ า “Klepemanie โดยอธิบายถึงความเป็น หนึ่งเดียวกันของพฤติกรรมที่เด่นชัดและความวิกลจริตอันมีความโน้มเอียง ที่จะขโมยของโดยปราศจากแรงจูงใจและความจ�ำเป็น ทั้งนี้แนวโน้มในการ ที่จะขโมยเป็นไปในลักษณะถาวร 9 ต่อมา Jena Etienne Esquirol และ C.C. Marc สองนายแพทย์ชาวฝรั่งเศสได้ใช้ค�ำว่า “Kleptomanie” แทนค�ำว่า “Klepemanie” ที่เคยใช้มาก่อน โดยได้ใช้ค�ำนี้เพื่ออธิบายถึง ลักษณะพฤติกรรมโดยไม่สมัครใจที่ไม่อาจต้านทานแรงกระตุ้น โดยอธิบายว่า คือผู้ที่ถูกบีบบังคับให้ต้องขโมยซึ่งเกี่ยวกับอาการป่วยทางจิตอันไม่เกี่ยวกับ ความบกพร่องทางศีลธรรม ต่อมาประมาณปี 1980 ได้ปรากฏงานวิจัยทางด้าน วิทยาศาสตร์ยืนยันถึง “Kleptomania” ว่าเป็นโรคทางจิตเวชอย่างถูกต้อง 10 อย่างไรก็ตามเกี่ยวกับประเด็นนี้ยังมีความเห็นแตกต่างกัน กล่าวคือ ตามบัญชีจ�ำแนกโรคระหว่างประเทศขององค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ฉบับแก้ไขครั้งที่ 10 (International Statistical Classification of Diseases and Related Health Problem-ICD 10) ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้ก�ำหนดไว้เป็นมาตรฐานการให้รหัสโรคที่เป็นสาเหตุ การป่วยและสาเหตุการตายเพื่อจัดจ�ำแนกโรคกลุ่มต่าง ๆ ให้เป็นมาตรฐาน เดียวกันในระดับนานาชาติ 11 ได้ระบุจ�ำแนกโรคชอบขโมยของอยู่ในกลุ่ม F63 พฤติกรรมและแรงกระตุ้นผิดปกติ (Habit and impulse disorders) โดยอยู่ในกลุ่มรหัส F63.2 Phatological stealing (Kleptomania) 9 Bharat Saluja, Lai Gwen Chan, DaniDhaval. (2014). Kleptomania : a case series. Singapore Med J 55 (12). P.207-209 10 Jon E Grant, Brain L Odlaug. (2008). Kleptomania : clinical characteristics and treatment. Rev Bras Psiquiatr; 30 (Sup I) : S 11-5. p. 12 11 สำ�นักนโยบายและแผนสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2560, จาก https://media.sut.ac.th/download.act?idx=2474 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 99
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3