วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ในขณะที่ก�ำลังลงมือกระท�ำอยู่นั้นจะเกิดความรู้สึกพึงพอใจและผ่อนคลาย 14,15 ซึ่งวัตถุสิ่งของที่ขโมยนั้นไม่ได้น�ำมาเพื่อประโยชน์ในการใช้สอยส่วนตัวหรือ ประโยชน์ทางการเงินแต่อย่างใด แต่อาจน�ำมาทิ้ง ให้แจกจ่ายหรือน�ำมา เพื่อสะสมเท่านั้น 16 อันแตกต่างไปจากผู้ที่ขโมยของตามร้านค้าธรรมดาทั่วไป แต่เป็นการท�ำไปเพื่อผ่อนคลายตามลักษณะอาการของโรค 17 หรือกล่าวอีกนัยหนึ่ง คือบุคคลซึ่งเป็นโรคดังกล่าวไม่สามารถยับยั้ง ควบคุมแรงกระตุ้นของตนที่อยาก จะขโมยวัตถุสิ่งของได้ 18 จากลักษณะอาการของโรคชอบขโมยของดังกล่าว จะได้วิเคราะห์ ต่อไปว่าหากผู้เป็นโรคชอบขโมยของ (Kleptomania) ไปกระท�ำผิดฐานลักทรัพย์ บุคคลดังกล่าวจะมีความรับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายไทยหรือไม่ เพียงใด ? โครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายไทย หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่าบุคคลใดจะต้องรับผิดทางอาญาตามหลัก กฎหมายไทยหรือไม่ จะต้องพิจารณาโครงสร้างความรับผิดทางอาญาซึ่งเป็น หลักเกณฑ์ในการวินิจฉัยว่าการกระท�ำใดการกระท�ำหนึ่งจะเป็นความผิด ต่อกฎหมายและผู้กระท�ำจะต้องถูกลงโทษหรือไม่ 19 ซึ่งโดยทั่วไปอาจพิจารณา ได้โดยล�ำดับดังนี้ 20 1. การกระท�ำของบุคคลนั้นครบองค์ประกอบความผิดที่กฎหมาย บัญญัติไว้หรือไม่ ในข้อนี้ก่อนอื่นจะต้องพิจารณาเสียก่อนว่าบุคคลนั้นมีการ กระท�ำหรือไม่เสียก่อน ซึ่งการกระท�ำนั้นหมายถึงการเคลื่อนไหวร่างกายโดย 14 R.C.Shama.(1996). Kleptomania Presenting with Major Depressive Disorder : A Case Report. Indian J.Psychiat. 38 (3). p.190-191 15 Jon E. Grant. (2006). Understanding and TreatingKleptomania : NewModels and NewTreatments. Isr J Psychiatry RelatSciVol 43 No. 2 p. 81 16 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 2, หน้า 167 17 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 15, หน้า 2 18 อ้างแล้ว, เชิงอรรถที่ 1, หน้า 92 19 คณิต ณ นคร. กฎหมายอาญาภาคทั่วไป. กรุงเทพฯ : สำ�นักพิมพ์วิญญูชน จำ�กัด, 2543, หน้า 69 20 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2546). คำ�อธิบายกฎหมายอาญา ภาค 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 8. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. หน้า 77 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 101
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3