วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
รู้ส�ำนึกหรืออยู่ภายใต้บังคับของจิตใจ 21 และการกระท�ำนั้นรวมถึงการให้เกิดผล อันหนึ่งอันใดขึ้นโดยงดเว้นการที่จักต้องกระท�ำเพื่อป้องกันผลไม่ให้เกิดขึ้นด้วย 22 หากไม่ถือว่ามีการกระท�ำเสียแล้ว เช่น เคลื่อนไหวร่างกายโดยไม่รู้ส�ำนึกในการ กระท�ำเพราะปัญญาอ่อนถึงขนาด 23 ละเมอหรือเพราะเป็นลมบ้าหมู เป็นต้น เช่นนี้ก็ไม่เข้าหลักเกณฑ์ตามกฎหมายที่บุคคลนั้นจะต้องรับผิด หรือแม้จะมี การกระท�ำเกิดขึ้นแล้วแต่หากการกระท�ำนั้นไม่ครบองค์ประกอบที่กฎหายบัญญัติไว้ เช่นนี้บุคคลนั้นก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญาโดยไม่ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ข้อต่อไป แต่อย่างใด 24 2. การกระท�ำของบุคคลนั้นมีกฎหมายยกเว้นความผิดหรือไม่ กรณีนี้ เป็นกรณีที่บุคคลผู้กระท�ำมีอ�ำนาจกระท�ำได้ตามกฎหมาย ดังนั้นการที่บุคคล กระท�ำการดังกล่าวจึงไม่มีความผิดตามกฎหมายแต่อย่างใด และกรณีนี้บุคคล ผู้ได้รับผลร้ายจากการกระนั้นจะต้องจ�ำยอมรับต่อการกระท�ำดังกล่าวโดยจะ กระท�ำการโต้ตอบไม่ได้ 25 กฎหมายยกเว้นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา 26 เช่น การกระท�ำโดยป้องกันตาม ป.อ. มาตรา 68 หรืออาจเป็นการยกเว้นความผิด ตามกฎหมายอื่นเช่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1347 กล่าวคือ เจ้าของที่ดินอาจตัดรากไม้ซึ่งรุกล�้ำเข้ามาจากที่ดินที่ติดต่อกันได้โดยไม่เป็น ความผิดฐานท�ำให้เสียทรัพย์ เป็นต้น ดังนั้นหากมีกฎหมายยกเว้นความผิด บุคคลนั้นก็ไม่ต้องรับผิดทางอาญา แต่หากไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดก็ยัง ไม่อาจสรุปได้ทันทีว่าบุคคลนั้นต้องรับผิดทางอาญาแต่ต้องพิจารณาหลักเกณฑ์ ข้อต่อไปอีกชั้นหนึ่ง 21 เพลินตา ตันรังสรรค์. (2555). เหตุที่ทำ�ให้ผู้กระทำ�ไม่ต้องรับโทษทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา เปรียบเทียบกับกฎหมายอาญาเยอรมัน. จุลนิติ. หน้า55 22 ป.อ.มาตรา 59 วรรคท้าย 23 คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 8743/2544 24 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ. (2547). กฎหมายอาญา หลักและปัญหา ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 6. มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์. หน้า 11 25 หยุด แสงอุทัย. (2547). กฎหมายอาญา ภาค 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 19. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. หน้า 140 26 ต่อไปในบทความนี้ขอใช้คำ�ย่อ ป.อ. แทนคำ�ว่า ประมวลกฎหมายอาญา วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 102
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3