วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

3. การกระท�ำไม่มีกฎหมายยกเว้นโทษ กล่าวคือ แม้บุคคลได้กระท�ำการ ครบองค์ประกอบความผิดที่กฎหมายบัญญัติไว้แล้ว อีกทั้งไม่มีกฎหมายยกเว้น ความผิดก็ตาม แต่หากการกระท�ำนั้นมีกฎหมายยกเว้นโทษ บุคคลนั้นแม้จะมี ความผิดตามกฎหมายแต่ไม่ต้องรับโทษแต่อย่างใด 27 กฎหมายยกเว้นโทษ ตามประมวลกฎหมายอาญา เช่น การกระท�ำความผิดโดยความจ�ำเป็น ตาม ป.อ. มาตรา 67 การกระท�ำความผิดของเด็กอายุยังไม่เกิน 10 ปี และ ไม่เกิน 15 ปี ตาม ป.อ. มาตรา 73 และมาตรา 74 หรือการกระท�ำความผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนตาม ป.อ. มาตรา 65 เป็นต้น ดังนั้นแม้จะมีการกระท�ำ ซึ่งครบองค์ประกอบความผิดและไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดให้แล้ว แต่หาก การกระท�ำนั้นมีกฎหมายยกเว้นโทษให้ตามหลักเกณฑ์ข้อนี้ บุคคลนั้นก็ไม่ต้อง รับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายไทยแต่อย่างใด 28 เหตุยกเว้นโทษเพราะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับ ตนเองได้เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือนตาม ป.อ.มาตรา 65 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ยึดถือในระบบ Civil Law ซึ่งในระบบ Civil Law แยกการกระท�ำที่ไม่ เป็นความผิดหรือในทางต�ำราเรียกว่ า “เหตุยกเว้นความผิด” (Justification) และการกระท�ำที่ผิดกฎหมาย แต่กฎหมายไม่ประสงค์ที่จะลงโทษ หรือเรียกว่า “เหตุยกเว้นโทษ” (Excuse) ออกจากกันอย่ างเด็ดขาดดังปรากฏในประมวลกฎหมายอาญาของไทย ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2499 นั้นมีการแบ่งแยกการกระท�ำที่ไม่ผิดกฎหมาย 29 และการกระท�ำที่ผิดกฎหมายแต่กฎหมายยกเว้นโทษออกจากกันอย่างชัดแจ้ง 30,31 27 เพิ่งอ้าง, หน้า 140 28 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 15, หน้า 82 29 เช่น ป.อ.มาตรา 68, มาตรา 305, มาตรา 329 30 เช่น ป.อ.มาตรา 65, มาตรา 67, มาตรา 73 31 ชานนท์ ศรีสาตร์. (2545). เหตุยกเว้นโทษในกฎหมายอาญา. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. หน้า 1-2 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 103

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3