วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

เมื่อพิจารณาโครงสร้างความรับผิดทางอาญา เหตุยกเว้นโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 เป็นการพิจารณาในขั้นตอนที่ 3 ตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามหลัก กฎหมายไทยในเรื่องกฎหมายยกเว้นโทษดังกล่าวมาแล้วในหัวข้อที่ 3 ซึ่งในส่วนนี้ สอดคล้องกับโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายของเยอรมนี ในเรื่องความชั่ว (Schuld) กล่าวคือหลังจากที่พิจารณาได้ความว่าการกระท�ำนั้น ครบองค์ประกอบที่กฎหมายบัญญัติไว้ในขั้นตอนที่ 1 แล้วและการกระท�ำนั้น ไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดในขั้นตอนที่ 2 ซึ่งการกระท�ำนั้นเป็นความผิด ตามกฎหมายแล้ว อย่างไรก็ตามแม้การกระท�ำนั้นจะเป็นความผิดตามกฎหมาย แล้วแต่ไม่ได้หมายความว่าบุคคลนั้นจะต้องรับโทษทันทีเสมอไป เพราะ ตามโครงสร้างความรับผิดทางอาญาตามกฎหมายเยอรมนียังต้องพิจารณาต่อไป อีกว่าผู้กระท�ำนั้นมีความชั่ว (Schuld) หรือไม่ กล่าวคือต้องพิจารณาว่าบุคคลนั้น ได้กระท�ำไปโดยรู้ผิดชอบหรือไม่ เพียงใด หรือสิ่งที่ผู้กระท�ำได้กระท�ำไปนั้น เป็นสิ่งที่สังคมควรต�ำหนิหรือไม่ด้วย หากการกระท�ำของผู้กระท�ำได้กระท�ำไป โดยไม่รู้ผิดชอบหรือการกระท�ำนั้นเป็นสิ่งที่สังคมไม่อาจต�ำหนิได้ซึ่งรวมถึง การกระท�ำของผู้กระท�ำในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะผู้กระท�ำเป็นโรคจิต จิตบกพร่อง หรือจิตฟั่นเฟือนตามหลักกฎหมายไทย ใน ป.อ.มาตรา 65 นี้ด้วยแล้ว เช่นนี้กฎหมายก็จะยกเว้นโทษให้แก่การกระท�ำ ดังกล่าวเพราะถือว่าการกระท�ำของบุคคลนั้นได้กระท�ำไปโดยไม่มีความชั่ว 32 การกระท�ำอันจะได้รับการยกเว้นโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 นี้ บุคคลนั้น จะต้องมีการกระท�ำเสียก่อน กล่าวคือ ผู้กระท�ำเคลื่อนไหวหรือไม่เคลื่อนไหว ร่างกายโดยรู้ส�ำนึกซึ่งหมายถึงรู้สภาพและสาระส�ำคัญของการกระท�ำของตน หากผู้กระท�ำไม่รู้สภาพและสาระส�ำคัญของการกระท�ำของตนเสียแล้ว เช่นนี้ ถือว่าไม่มีการกระท�ำย่อมไม่มีความผิดอยู่แล้วโดยไม่จ�ำต้องวินิจฉัยเรื่องเจตนา แต่อย่างใดอีก ต่อเมื่อปรากฏว่าบุคคลนั้นมีการกระท�ำแล้วจึงพิจารณาต่อไปว่า การกระท�ำของบุคคลนั้นกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดหรือไม่ หากการกระท�ำนั้น กฎหมายบัญญัติเป็นความผิดจึงมาพิจารณาต่อไปว่าการกระท�ำนั้นมีกฎหมาย 32 เพลินตา ตันรังสรรค์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 16, หน้า 62-63 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 104

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3