วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ยกเว้นความผิดหรือไม่ และเมื่อการกระท�ำนั้นไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิด เช่นนี้ จึงมาพิจารณาต่อไปว่าการกระท�ำนั้น ผู้กระท�ำได้กระท�ำผิดในขณะไม่สามารถ รู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิตหรือ จิตฟั่นเฟือนตาม ป.อ.มาตรา 65 นี้อันจะได้รับการยกเว้นโทษหรือไม่เป็นประการ สุดท้าย ดังกล่าวมาแล้วในเรื่องโครงสร้างความรับผิดทางอาญาในหัวข้อที่ 3 33 อย่างไรก็ตาม การศึกษานี้เป็นการศึกษาเฉพาะในกรณีที่เมื่อบุคคลใด ซึ่งเป็นโรคชอบขโมยของไปกระท�ำผิดฐานลักทรัพย์ บุคคลนั้นจะต้องรับผิด ทางอาญาตามหลักกฎหมายไทยหรือไม่ เพียงใด ซึ่งเมื่อพิจารณาจากหลักเกณฑ์ ความรับผิดทางอาญาตามหลักกฎหมายไทยดังกล่าวมาข้างต้นแล้วจะเห็นได้ว่า กรณีตามการศึกษานี้มีการกระท�ำครบองค์ประกอบความผิดฐานลักทรัพย์แล้ว และไม่มีกฎหมายยกเว้นความผิดส�ำหรับการกระท�ำดังกล่าวแต่อย่างใด ดังนั้น จึงเหลือเพียงหลักเกณฑ์ความรับผิดทางอาญาข้อสุดท้าย กล่าวคือต้องพิจารณาว่า การกระท�ำผิดฐานลักทรัพย์ของบุคคลซึ่งเป็นโรคชอบขโมยของเป็นการกระท�ำผิด ในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนอันจะได้รับการยกเว้นโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 นี้หรือไม่ เท่านั้น ในทางต�ำราได้อธิบายถึงเหตุยกเว้นโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 ไว้ดังนี้ คือจะต้องมีการกระท�ำการอันกฎหมายบัญญัติเป็นความผิดในขณะไม่สามารถ รู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถบังคับตนเองได้ เพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือ จิตฟั่นเฟือน 34 ดังนั้นหากการกระผิดในขณะไม่สามารถรู้ผิดชอบ หรือไม่สามารถ บังคับตนเองได้เกิดจากเหตุอื่น ๆ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นเพราะมีจิตบกพร่อง โรคจิต หรือจิตฟั่นเฟือนแล้ว ก็จะไม่ได้รับการยกเว้นโทษตาม ป.อ.มาตรา 65 นี้แต่ อย่างใด 35 เช่น เกิดจากโรคเปลี่ยนวัย ภาวะหมดประจ�ำเดือน 36 หรือเกิดจาก ความหลง ความโกรธ ความใคร่ ความตื่นเต้น ความตกใจความกลัวหรือ 33 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 15, หน้า 421-422 34 เพิ่งอ้าง, หน้า 421-422 35 เพิ่งอ้าง, หน้า 425 36 คำ�พิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2520 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 105

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3