วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ความไม่ปกติของอารมณ์ หรือเพราะบันดาลโทสะ 37 หรือเกิดจากกลุ่มโรคเหล่านี้ เช่น โรคถ�้ำมอง (Voyeurism) โรคชอบโชว์อวัยวะเพศ (Exhibitionism) โรคชอบขโมยชุดชั้นใน (Fetishism) เป็นต้น เพราะกลุ่มโรคดังกล่าวไม่ใช่ โรคทางจิตเวชอันจะได้รับการยกเว้นโทษตามหลักเกณฑ์ ป.อ.มาตรา 65 นี้ แต่อย่างใด 38 ในทางต�ำราอธิบายว่า “ไม่สามารถรู้ผิดชอบ” หมายถึง ไม่สามารถรู้ได้ว่า การกระท�ำนั้นผิดศีลธรรม กล่าวคือไม่อาจแยกได้ว่าสิ่งใดถูกต้องตามหลักศีลธรรม และสิ่งใดผิดศีลธรรม 39 เพราะจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน แต่ไม่ต้อง ถึงขนาดจะต้องรู้ว่าการกระท�ำของตนผิดกฎหมาย เพียงแต่รู้ว่าการกระท�ำนี้ ไม่ควรท�ำก็พอแล้ว 40 เช่นเพราะเป็นโรคจิต จึงไม่สามารถรู้ว่าการเอามีดดาบ ฟันคอคนจะท�ำให้คนตายได้ 41 ส่วนค�ำว่า “ไม่สามารถบังคับตนเองได้” หมายความว่า ผู้กระท�ำรู้ว่า ตนก�ำลังท�ำอะไรอยู่ และรู้ว่าการกระท�ำนั้นเป็นสิ่งผิดไม่ควรท�ำ แต่ผู้กระท�ำ ไม่สามารถบังคับตนเองให้ยับยั้งการกระท�ำนั้นเพราะจิตบกพร่อง โรคจิต หรือ จิตฟั่นเฟือน 42 ดังนั้น การไม่สามารถรู้ผิดชอบหรือไม่สามารถบังคับตนเองได้นั้น จะต้องเกิดจากการที่ผู้กระท�ำจิตบกพร่อง โรคจิตหรือจิตฟั่นเฟือน ซึ่งใน ทางต�ำราอธิบายไว้ดังนี้ “จิตบกพร่อง” หมายถึง ผู้ที่สมองไม่ เจริญเติบโตตามวัยหรือ อาจบกพร่องมาแต่ก�ำเนิดหรือเสื่อมลงเพราะความชรา 43 ท�ำให้มีความสามารถจ�ำกัด ในด้านการเรียนรู้และการปรับตัวเข้ากับสังคม มีอาการหลงลืมหรือเกิดการ ผิดพลาดในการตัดสินใจ 44 37 จิตติ ติงศภัทิย์. (2546). กฎหมายอาญาภาค 1 ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10. เนติบัณฑิตยสภา. หน้า 841 38 แสวง บุญเฉลิมวิภาส. อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 10. หน้า4 39 เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์, เพิ่งอ้าง,หน้า 423 40 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 19, หน้า 325-326 41 หยุด แสงอุทัย, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 20, หน้า 166 42 จิตติ ติงศภัทิย์. เพิ่งอ้าง, หน้า 852-853 43  เพิ่งอ้าง, หน้า 840 44 ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ, อ้างแล้วเชิงอรรถที่ 19, หน้า 326 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 106

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3