วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
บทนำ� การรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่ างประเทศนั้น เป็นกลไกทางกฎหมายที่มีความส�ำคัญ โดยเฉพาะภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน ที่การด�ำเนินธุรกิจ การค้า การลงทุน ตลอดจนนิติสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับ เอกชนที่มีลักษณะข้ามชาติ (International Transaction) ได้มีการขยายตัว อย่างรวดเร็ว อันเป็นผลมาจากการประสานความร่วมมือระหว่างรัฐที่มีความใกล้ชิด มากยิ่งขึ้น ดังจะเห็นได้จากการปรากฏตัวของการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก ซึ่งวัตถุประสงค์ประการหนึ่งของการประสาน ความร่วมมือในลักษณะดังกล่าวก็เพื่อก่อให้เกิดการเคลื่อนย้ายอย่างเสรี ของประชากร เงินทุน ตลอดจนปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ด้วยเหตุนี้หากมีข้อพิพาทเกิดขึ้น และเมื่อศาลได้พิจารณาพิพากษาคดี ให้คู่กรณีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งชนะคดีแล้ว การบังคับคดีเอาแก่ทรัพย์สินของลูกหนี้ ตามค�ำพิพากษาที่กระจัดกระจายอยู่ในหลายประเทศจึงเป็นการยาก และยิ่งเสียเวลา และค่าใช้จ่ายมากขึ้นหากต้องไปฟ้องเป็นคดีใหม่ในทุกประเทศที่มีทรัพย์สิน ของลูกหนี้ตั้งอยู่ ตลอดจนอาจก่อให้เกิดความไม่แน่นอนในผลแห่งคดีอีกด้วย ดังนั้นเพื่อเป็นการสร้างความแน่นอนและเสถียรภาพของกระบวนการยุติธรรม ในทางแพ่งและพาณิชย์ นักนิติศาสตร์จึงได้ให้การยอมรับถึงการมีผลของ ค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ โดยในบทความนี้ผู้เขียนจะได้พิจารณาถึงประเด็นการรับรองและบังคับ ตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศภายใต้อนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 ว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศในทางแพ่งและ พาณิชย์ ซึ่งจะแบ่งการพิจารณาออกเป็น 5 ส่วน ประกอบด้วย ความเป็นมา ของอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาล ต่างประเทศ ค.ศ. 1971, ขอบเขตของการใช้บังคับ, ปัญหาในเงื่อนไขการรับรอง และบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศภายใต้อนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ค.ศ. 1971, วิธีการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศภายใต้อนุสัญญา วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 3
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3