วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

แห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศในคดี แพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 1971 และบทสรุป ดังจะได้พิจารณาเป็นล�ำดับต่อไปนี้ ความเป็นมาของอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและ บังคับตามคำ�พิพากษาของศาลต่างประเทศ ค.ศ. 1971 นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1960 เป็นต้นมา ประเด็นปัญหาในเรื่อง “การรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ” เริ่มได้รับความสนใจ จากนักกฎหมายทั้งในระดับภายในประเทศและในระดับระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากปัจจัยต่าง ๆ หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นการขยายตัวทางด้าน เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนที่มิได้มีลักษณะจ�ำกัดอยู่แต่เพียงรัฐใดรัฐหนึ่ง การติดต่อสื่อสาร การไปมาหาสู่กันระหว่างประชาชนซึ่งอยู่คนละประเทศกันที่ สามารถท�ำได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น อันเป็นผลมาจากการพัฒนาทางด้าน เทคโนโลยี การโทรคมนาคม และการขนส่ง ฯลฯ ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นโลก แห่งยุคไร้พรหมแดน (Globalization) ก็ว่าได้ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ดังกล่าว ข้างต้นส่งผลให้รัฐมีแนวโน้มที่ต้องการจะขยายขอบเขตการใช้อ�ำนาจของตน ให้มากกว่าดินแดนของรัฐที่รัฐสามารถใช้อ�ำนาจได้อย่างบริบูรณ์อยู่แล้ว ในขณะเดียวกันรัฐก็จ�ำเป็นที่จะต้องจ�ำกัดการขยายขอบเขตในการใช้อ�ำนาจ ของรัฐอื่น ๆ มิให้กระทบถึงการใช้อ�ำนาจภายในดินแดนของตนด้วย โดย เฉพาะอ�ำนาจในทางตุลาการที่โดยปกติแล้วค�ำพิพากษาของศาลในรัฐใดรัฐหนึ่ง ย่อมสามารถบังคับได้เฉพาะในดินแดนของรัฐนั้นเท่านั้น แต่เนื่องจากสภาพการ ในความสัมพันธ์ในทางสังคมระหว่างประเทศที่เปลี่ยนแปลงไปดังที่ได้กล่าวมา ข้างต้น ท�ำให้การจ�ำกัดผลของค�ำพิพากษาให้สามารถบังคับได้แต่เฉพาะใน ดินแดนของรัฐใดรัฐหนึ่งนั้น จึงไม่อาจเป็นกลไกในทางกฎหมายที่สามารถ ตอบสนองกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้ ดังนี้รัฐแต่ละรัฐจึงจ�ำเป็นที่จะต้องผ่อนคลายความเคร่งครัดของการ จ�ำกัดผลของการใช้อ�ำนาจในทางตุลาการของรัฐอื่น ๆ ที่อาจกระทบต่อการ ใช้อ�ำนาจในทางตุลาการของตน โดยการยอมให้น�ำค�ำพิพากษาของศาล วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 4

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3