วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ต่างประเทศมาให้ศาลภายในรัฐตนรับรองหรือบังคับตามค�ำพิพากษาของศาล ต่างประเทศนั้นได้ พร้อมกันกับค้นหาทฤษฎีอันเป็นรากฐานในทางความคิด เพื่ออธิบายว่า “เพราะเหตุใด? รัฐจึงต้องรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษา ของศาลต่างประเทศ” ซึ่งก็ได้มีการอธิบายถึงแนวคิดที่น�ำมาสนับสนุนถึง ความจ�ำเป็นดังกล่ าวอยู่หลายทฤษฎีไม่ว่ าจะเป็น ทฤษฎีต่ างตอบแทน (Reciprocity), ทฤษฎีว่าด้วยอัธยาศัยไมตรี (Comity), ทฤษฎีว่าด้วย พันธกรณี (Doctrine of Obligation) 1 เป็นต้น โดยแต่ละรัฐจะยึดถือ ทฤษฎีอันเป็นพื้นฐานในทางความคิดของเรื่องนี้ที่แตกต่างกัน เช่น อังกฤษ อาศัยทฤษฎีพันธกรณี แต่ในขณะที่เยอรมันอาศัยทฤษฎีต่างตอบแทนเป็นฐาน ในการอธิบาย 2 เป็นต้น ประกอบกับการที่รัฐยังคงมีความหวงแหนอ�ำนาจ ในทางตุลาการของตนอยู่มาก ดังจะเห็นได้จากกฎหมายที่เกี่ยวกับการรับรอง และบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ของแต่ละรัฐจะก�ำหนดเงื่อนไข ข้อยกเว้น ตลอดจนวิธีการขอให้ศาลของประเทศผู้รับค�ำร้องขอรับรองหรือบังคับ ตามให้ ทั้งนี้เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศได้รับ การรับรองหรือบังคับในทุกกรณี ซึ่งจะเป็นการลดทอนอ�ำนาจตุลาการของรัฐ โดยเงื่อนไข ข้อยกเว้น และวิธีการขอให้รับรองหรือบังคับตามให้นั้น แต่ละรัฐ จะมีความแตกต่างกัน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น นิตินโยบาย ของรัฐ ทัศนคติที่มีต่อค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศ ระบบกฎหมาย และแม้ว่า ในบางเงื่อนไขจะมีความคล้ายคลึงกันก็ตาม แต่มุมมอง และการตีความเงื่อนไข นั้น ๆ ก็ยังคงมีความแตกต่างกัน เป็นต้น จากความไม่เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของกฎหมายในเรื่องการรับรองและ บังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศดังกล่าว ก่อให้เกิดอุปสรรคในการ น�ำค�ำพิพากษาของศาลในรัฐหนึ่งไปขอให้ศาลในอีกรัฐหนึ่งรับรองหรือบังคับ 1 Bradford A. Caffrey, “International Jurisdiction and Recognition of Foreign Judgments in the LAWASIA Region : A Comparative Study of the Laws of Eleven Asian Countries Inter-se and with E.E.C. Countries”, (Australia:CCH Australia Ltd, 1985), p. 37. 2 ประสิทธิ ปิวาวัฒนพานิช, คำ�อธิบายกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล, (สำ�นักพิมพ์มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์, มิ.ย. 2551), น. 304-306. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 5
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3