วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

อนุสัญญาว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ 6 (an Extraordinary Session) ในการประชุมครั้งนี้ได้มีการพิจารณาในเรื่อง เงื่อนไขของการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศ โดยได้ให้ ความส�ำคัญต่อประเด็นในเรื่องเขตอ�ำนาจศาลของประเทศที่ท�ำค�ำพิพากษา ซึ่งมีความเห็นที่แตกต่างกันอยู่มาก 7 และเพื่อท�ำให้การพิจารณาในเรื่องเขต อ�ำนาจศาลเป็นไปในทิศทางเดียวกันจึงได้มีการจัดท�ำความตกลงเพิ่มเติม (Supplementary Protocol) เกี่ยวด้วยเขตอ�ำนาจศาลขึ้นในเดือนตุลาคม ปีเดียวกันนั้นเอง 8 หลังจากนั้นในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1971 อนุสัญญาว่า ด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและ พาณิชย์ และความตกลงเพิ่มเติม ก็ได้เปิดให้ประเทศที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิก ของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลลงนาม เป็นภาคี โดยได้มีผลใช้บังคับในวันที่ 20 สิงหาคม ค.ศ. 1979 ขอบเขตของการใช้บังคับ หลังจากที่ได้ท�ำความเข้าใจถึงความเป็นมาของอนุสัญญาฉบับนี้กัน พอสมควรแล้ว ประเด็นที่น่าจะได้พิจารณากันต่อไปคือ “ปัญหาในเรื่องขอบเขต การใช้บังคับ” ของอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งผู้เขียนจะได้แยกพิจารณาออกเป็น 2 ส่วน กล่าวคือ “ขอบเขตการใช้บังคับในทางพื้นที่” และ “ขอบเขตการใช้บังคับในทาง เนื้อหา” ดังจะได้พิจารณาต่อไปนี้ 1. ขอบเขตการใช้บังคับในทางพื้นที่ กล่าวคือ หากเราพิจารณาถึง วัตถุประสงค์ของอนุสัญญาฉบับนี้ประกอบกับวัตถุประสงค์ของที่ประชุมแห่งกรุง เฮกแล้วจะเห็นว่า ที่ประชุมแห่งกรุงเฮกต้องการที่จะท�ำให้กฎหมายที่เกี่ยวด้วย 6 ระหว่างวันที่ 13 ถึง 26 เมษายน ค.ศ. 1966 7 Kurt H. Nadelmann and Arthur T. von Mehren, “The Extraordinary Session of the Hague Conference on Private International Law”, The American Journal of International Law, Vol. 60, No.4 (Oct., 1966), p. 803-806. 8 Philip W. Amram, “Report on the Eleventh Session of the Hague Conference on Private International Law ”, The American Journal of International Law, Vol. 63, No. 3 (Jul., 1969), p. 528 . วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 7

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3