วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

การรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ที่ยังมีความแตกต่างกันอยู่มากในแต่ละประเทศให้อยู่ในรูปแบบเดียวกัน “ลดการขัดกันแห่งกฎเกณฑ์ทางกฎหมาย” โดยอาศัยระบบของสนธิสัญญาระหว่าง ประเทศเป็นเครื่องมือ ดังนั้นอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 ฉบับนี้ จึงมิได้ จ�ำกัดไว้แต่เฉพาะสมาชิกของที่ประชุมแห่งกรุงเฮกเท่านั้น แต่ยังให้ประเทศที่มิได้ เป็นสมาชิกร่วมลงนามเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ด้วย ดังจะเห็นได้จากบทน�ำ (Preamble) ของอนุสัญญาฉบับนี้ 9 แต่อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าวัตถุประสงค์ดังกล่าวจะไม่ได้รับ การตอบรับจากทั้งประเทศที่เป็นและไม่ได้เป็นสมาชิกของที่ประชุมแห่งกรุงเฮก มากนัก เนื่องจากภายหลังที่ได้มีการเปิดให้ลงนามจนถึงปัจจุบัน (ตุลาคม 2017) มีประเทศที่ลงนามเป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้เพียง 5 ประเทศเท่านั้น โดยเป็นประเทศที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมแห่งกรุงเฮก 4 ประเทศได้แก่ แอลเบเนีย ไซปรัส เนเธอร์แลนด์ และโปรตุเกส และอีกหนึ่งประเทศที่ไม่ได้ เป็นสมาชิกคือคูเวต 10 ดังนั้นหากเราพิจารณาถึงขอบเขตการใช้บังคับในทางพื้นที่ ของอนุสัญญาฉบับนี้จึงมีค่อนข้างจ�ำกัด ทั้งนี้อาจสืบเนื่องมาจากด้วยลักษณะ ของเงื่อนไขของการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ในอนุสัญญาฉบับนี้มีความโน้มเอียงไปทางลักษณะของระบบคอมมอนลอว์ มีลักษณะของการประนีประนอมระหว่างซีวิลลอว์กับคอมมอนลอว์อยู่น้อย 11 ประกอบกับในช่วงเวลาเดียวกันนั้น ประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรป (Common Market) ก็ได้จัดท�ำอนุสัญญาที่เกี่ยวกับการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษา ของศาลต่างประเทศด้วยเช่นกัน กล่าวคืออนุสัญญากรุงบลัสเซลว่าด้วย เขตอ�ำนาจศาลและการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 1968 ซึ่งอนุสัญญาฉบับดังกล่าวมีความชัดเจน 9 The states signatory to present Convention. Desiring to establish common provisions on mutual recognition and enforcement of judicial decisions rendered in their respective countries. 10 https://www.hcch.net/en/instruments/conventions/status-table/?cid=78 (Last Visited 7 October 2017) 11 R.H. Graveson, supra note 5, p. 532. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 8

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3