วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ทั้งในเรื่องเขตอ�ำนาจศาล และเงื่อนไขของการรับรองและบังคับตามให้ โดยได้แยก การรับรองและการบังคับออกจากกัน อาจกล่าวได้ว่าอนุสัญญาฉบับนี้มีหลักการ ที่ก้าวหน้ากว่าอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกในเรื่องเดียวกันนี้ 2. ขอบเขตการใช้บังคับในทางเนื้อหา กล่าวคือ ในอนุสัญญาฉบับนี้ ได้ก�ำหนดส่วนที่ว่าด้วยขอบเขตของการใช้บังคับอนุสัญญาฉบับนี้ไว้ในส่วนที่ 1 (CHAPTER I Scope of Convention - Article 1-3) ได้ก�ำหนด ให้อนุสัญญาฉบับนี้มีผลใช้บังคับกับค�ำพิพากษาในคดีแพ่งและพาณิชย์ที่ได้ พิพากษาจากรัฐภาคี โดยไม่ค�ำนึงว่าในประเทศที่ได้ท�ำค�ำพิพากษาจะเรียก ชื่อว่าอะไร และยังให้หมายรวมถึงการคุ้มครองชั่วคราวหรือมาตรการพิทักษ์ ทรัพย์ด้วย และไม่ว่าคู่กรณีจะมีสัญชาติใดก็ตาม แต่อย่างไรก็ดี อนุสัญญาฉบับนี้จะไม่ใช้บังคับกับค�ำพิพากษาในคดี แพ่งและพาณิชย์ ที่มีประเด็นส�ำคัญแห่งคดีที่เกี่ยวด้วย ก. สถานะหรือความสามารถของบุคล หรือประเด็นปัญหาที่เกี่ยวด้วย กฎหมายครอบครัว รวมทั้งในเรื่องทรัพย์สินระหว่างคู่สมรส และความสัมพันธ์ ระหว่างบิดามารดากับบุตร หรือความสัมพันธ์ระหว่างสามี ภรรยา ข. การมีอยู่หรือการก่อตั้งนิติบุคคล หรืออ�ำนาจหน้าที่ของเจ้าหน้าที่ ของนิติบุคคลนั้น ค. ค่าอุปการะเลี้ยงดู ง. มรดก จ. การล้มละลาย ฉ. ประเด็นที่เกี่ยวด้วยวิธีการเพื่อความปลอดภัย ช. ความเสียหาย หรืออันตรายที่เกิดจากนิวเครียร์ ซ. ค�ำพิพากษาที่เกี่ยวกับการช�ำระภาษี หรือค่าปรับ กล่าวโดยสรุปแล้ว แม้ว่าขอบเขตการบังคับใช้ของอนุสัญญาฉบับนี้ จะมีขอบเขตที่จ�ำกัดในทางพื้นที่แต่ขอบเขตในการบังคับใช้ในทางเนื้อหานั้นมี ค่อนข้างกว้าง แต่อย่างไรก็ตามทั้งนี้และทั้งนั้นปัจจัยประการหนึ่งที่อาจมีผล กระทบต่อขอบเขตของการใช้บังคับอนุสัญญาฉบับนี้คือการตีความค�ำว่า วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 9

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3