วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

“decisions rendered in civil or commercial matters” ในข้อ 1 ว่าจะกินความกว้างแคบเพียงใด ซึ่งเราจะได้พิจารณากันต่อไป ปัญหาในเงื่อนไขการรับรองและบังคับตามคำ�พิพากษาของศาล ต่างประเทศภายใต้อนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ว่าด้วยการรับรองและ บังคับตามคำ�พิพากษาของศาลต่างประเทศ ค.ศ. 1971 ในอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษา ของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 1971 นั้น ได้วางเงื่องไข ในการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศไว้ใน CHAPTER II Conditions of Recognition and Enforcement - Article 4-12 โดยได้วางหลักการพื้นฐานไว้ว่า “ค�ำพิพากษาจากรัฐภาคีหนึ่งต้องได้รับการรับรอง และบังคับในรัฐภาคีอื่น ภายใต้ความตกลงในอนุสัญญาฉบับนี้” 12 อย่างไรก็ตาม มีข้อที่น่าสังเกตว่าอนุสัญญาฉบับนี้ไม่ได้แยกเงื่อนไขของการรับรองออกจาก การบังคับเหมือนอนุสัญญาบางฉบับ เช่น อนุสัญญากรุงบลัสเซลว่าด้วย เขตอ�ำนาจศาลและการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ค.ศ. 1968 เป็นต้น เนื่องจากประเด็นปัญหาในเงื่อนไขของการรับรองและบังคับ ตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศภายใต้อนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 มีหลายประเด็นที่สมควรพิจารณา โดยในส่วนนี้ผู้เขียนจะได้น�ำเสนอในบาง ประเด็นที่เห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจ ดังต่อไปนี้ 1. เงื่อนไขในเรื่องเขตอ�ำนาจศาล กล่าวคือ ในการรับรองและบังคับ ตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศนั้น ศาลของประเทศที่ได้รับค�ำร้องขอ จะต้องพิจารณาถึงเขตอ�ำนาจศาลทั้งของตนและเขตอ�ำนาจของศาลแห่งประเทศ ที่ได้ท�ำค�ำพิพากษา (ทั้งเขตอ�ำนาจในทางพื้นที่ และเขตอ�ำนาจในทางเนื้อหา) ซึ่งอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 ก็ได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้เช่นกัน โดยได้ก�ำหนดว่า “ค�ำพิพากษาของประเทศภาคีที่จะได้รับการรับรองและ 12 Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil and Commercial Matters 1971, Article 4. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 10

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3