วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ส�ำหรับผู้เขียนเห็นว่า การที่จะยึดถือตามความเห็นของฝ่ายที่สองนั้น อาจเป็นการเคร่งครัดมากจนเกินไป ไม่สามารถตอบสนองกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งมีความเคลื่อนไหวของคน เงินทุน และทรัพย์สินในทางระหว่างประเทศ อยู่ตลอดเวลาได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังเป็นการลดทอนสิทธิของคู่ความที่ได้มา โดยชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นการขัดต่อหลักความยุติธรรมและยังเป็นการ ลดความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุติธรรม และยังไม่เป็นการสอดคล้องกับ หลักการใช้อ�ำนาจอธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐอีกด้วย ดังนี้ผู้เขียนจึงเห็นว่า ศาลแห่งประเทศที่ได้รับค�ำร้องขอให้รับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาควร ถือว่า ศาลที่คู่กรณีเข้าไปอยู่ในเขตอ�ำนาจแม้เพียงระยะเวลาชั่วคราวเป็นศาลที่มี เขตอ�ำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดี ในกรณีที่จ�ำเลยเป็นนิติบุคคล โดยอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วย การรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ค.ศ. 1971 ได้ถือเกณฑ์ว่า ศาลต่างประเทศจะมีเขตอ�ำนาจในการพิจารณาพิพากษาคดีเหนือ นิติบุคคลก็ต่อเมื่อ “ในเวลาเริ่มต้นคดี นิติบุคคลจะต้องมีที่ตั้ง ที่ซึ่งจดทะเบียน หรือสถานที่ประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศที่ได้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนั้น” 16 มีปัญหาว่า เราจะพิจารณาค�ำว่า “สถานที่ในการประกอบธุรกิจของนิติบุคล” อย่างไร? เนื่องจากโดยสภาพของนิติบุคคลที่ประกอบกิจการในทางการค้า มักจะมีตัวแทน หรือสาขาของนิติบุคคลในต่างประเทศเพื่อติดต่อกับลูกค้า ดังนี้ จะถือได้หรือไม่ว่าประเทศที่มีตัวแทนหรือสาขาของนิติบุคคลไปติดต่อกับลูกค้า ที่อยู่ในประเทศใด ก็จะท�ำให้ศาลในประเทศนั้นเป็นศาลที่มีเขตอ�ำนาจในการ พิจารณาพิพากษาคดีทุกกรณี ต่อประเด็นปัญหานี้หากเราศึกษาถึงแนวทางของระบบคอมมอนลอว์ ซึ่งได้ก�ำหนดแนวทางไว้ชัดเจน 17 กล่าวคือ นิติบุคคลจะต้องมีสถานที่ประกอบธุรกิจ ณ สถานที่ที่แน่นอน หรือเป็นประจ�ำในประเทศที่พิจารณาพิพากษาคดีนั้น และ สามารถท�ำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่นในธุรกิจของตนได้ การที่นิติบุคคล 16 Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil and Commercial Matters 1971, Article 10 (1). 17 คดี Littauer Glove Corporation v. F.W. Millington Ltd. (1928), 44 T.L.R. 746. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 12

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3