วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

นอกจากประเด็นในด้านทัศนะที่แตกต่างกันในเรื่องความเป็นที่สุด ของค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศแล้ว ในส่วนนี้ยังมีประเด็นที่น่าจะได้กล่าวไว้ อีกประการหนึ่งคือ “กรณีค�ำพิพากษาโดยขาดนัด” เนื่องจากโดยปกติแล้ว กฎหมายวิธีพิจารณาความของประเทศต่าง ๆ มักจะเปิดโอกาสให้คู่ความฝ่ายที่ ขาดนัดสามารถร้องขอต่อศาลเพื่อให้พิจารณาคดีใหม่ภายในเวลาที่ก�ำหนดได้ เช่น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งของไทยมาตรา ๒๐๗ ดังนั้น จึงท�ำให้ค�ำพิพากษาโดยขาดนัดเป็นค�ำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด และในอนุสัญญา ว่าด้วยการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 ก็ได้รับรองหลักการดังกล่าวไว้เช่นกัน โดยในข้อ 6 แห่งอนุสัญญา ดังกล่าวได้รับรองว่า “ค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศที่ได้มาโดยขาดนัดจะไม่ได้ รับการรับรองและบังคับตามให้ เว้นแต่ฝ่ายที่ขาดนัดจะได้รับการบอกกล่าว ตามกฎหมายของประเทศที่ได้ท�ำค�ำพิพากษาเป็นระยะเวลาเพียงพอที่เขาจะ เข้าต่อสู้คดีได้” 22 แต่อย่างไรก็ตามมีปัญหาว่า จะถือได้หรือไม่ว่าค�ำพิพากษาโดย ขาดนัดในทุกกรณีเป็นค�ำพิพากษาที่ยังไม่ถึงที่สุด? ต่อปัญหาดังกล่าว ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะจ�ำกัดขอบเขตของ ค�ำพิพากษาโดยขาดนัดซึ่งเป็นเหตุให้ค�ำพิพากษานั้นยังไม่ถึงที่สุดให้แคบลง ทั้งนี้ เนื่องจากในกรณีขาดนัดบางคดีอาจเป็นที่แน่ชัดว่า การที่จ�ำเลยไม่เข้าต่อสู้คดี เพราะจ�ำเลยไม่มีพยานหลักฐาน หรือเหตุผลที่เพียงพอที่จะสู้คดีได้ ดังนี้หากจะ ถือว่าคดีขาดนัดทุกกรณีเป็นคดีที่ยังไม่ได้รับการวินิจฉัยในประเด็นอันเป็นสาระ ส�ำคัญแห่งคดีจนถึงที่สุด โดยเหตุผลที่ว่าจ�ำเลยอาจขอให้มีการพิจารณาคดีใหม่ ได้นั้น ก็จะท�ำให้โจทก์ไม่ได้รับความเป็นธรรม เพราะจะกลายเป็นว่ายิ่งคดี ของโจทก์มีพยานหลักฐานแน่นหนามากขึ้นเท่าใด ค�ำพิพากษาที่เป็นคุณกับโจทก์ ก็จะใช้ประโยชน์ได้น้อยลงเท่านั้น 23 22 Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil and Commercial Matters 1971, Article 6 stated that : Without prejudice to the provisions of Article 5, a decision rendered by default shall neither be recognized nor enforced unless the defaulting party received notice of the institution of the proceedings in accordance with the law of the State of origin in sufficient time to enable him to defend the proceedings. 23 จันตรี สินศุภฤกษ์, อ้างแล้ว เชิงอรรถที่ 14, น. 100. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 14

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3