วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ยิ่งไปกว่านั้นอนุสัญญาฉบับนี้ยังได้ห้ามมิให้ศาลที่ได้รับค�ำร้องขอ ให้มีการเรียกหลักทรัพย์ พันธบัตร หรือมัดจ�ำเพื่อเป็นหลักประกันค่าใช้จ่าย ในการด�ำเนินคดี โดยอาศัยเหตุแห่งสัญชาติหรือภูมิล�ำเนาของคู่กรณีฝ่ายที่ร้องขอ ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่ร้องขอให้รับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ในกรณีที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีถิ่นที่อยู่ หรือในกรณีที่เป็นนิติบุคคลที่มี สถานประกอบธุรกิจอยู่ในประเทศที่ได้มีการท�ำความตกลงในข้อตกลงเพิ่มเติม กับประเทศที่จะมีการรับรองหรือบังคับตามให้ 32 ส�ำหรับในเรื่องความช่วยเหลือทางกฎหมาย ก็ได้รับรองไว้เช่นเดียวกัน โดยได้ก�ำหนดให้ คู่กรณีที่ได้รับความช่วยเหลือทางกฎหมายในประเทศ ที่ได้พิจารณาค�ำพิพากษา ย่อมจะได้รับความช่วยเหลือเช่นว่านั้นในการด�ำเนิน กระบวนการพิจารณาเพื่อให้มีการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาล ต่างประเทศนั้น ตามกฎหมายแห่งประเทศที่ได้รับการร้องขอเช่นเดียวกัน 33 บทสรุป แม้ว่าที่ประชุมแห่งกรุงเฮกว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนก คดีบุคล ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่ต้องการจะท�ำให้กฎหมายของแต่ละประเทศที่มี ความแตกต่างกัน ให้สอดคล้องกันอย่างเป็นเอกรูป จะได้เล็งเห็นถึงความส�ำคัญ ของปัญหาในเรื่อง “การรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ” จึงได้จัดท�ำอนุสัญญาเพื่อแก้ปัญหาการขัดกันแห่งกฎหมาย (conflict of laws) ในเรื่องนี้ก็ตาม กล่าวคือ อนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและบังคับตาม ค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศในคดีแพ่งและพาณิชย์ ค.ศ. 1971 แต่อย่างไรก็ตามอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกฉบับดังกล่าว กลับไม่ประสบ ความส�ำเร็จ ดังจะเห็นได้จากจ�ำนวนประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ ซึ่งมีเพียง 5 ประเทศ จึงส่งผลให้ขอบเขตในการบังคับใช้อนุสัญญาฉบับนี้ 32 Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil and Commercial Matters 1971, Article 17. 33 Convention on the Recognition and Enforcement of Foreign Judgments in Civil and Commercial Matters 1971, Article 18. วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 19
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3