วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
มีอยู่อย่างจ�ำกัด ซึ่งไม่สอดคล้องกับความมุ่งหมายที่แท้จริงของที่ประชุมแห่งกรุงเฮก ว่าด้วยกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล ที่ต้องการให้ประเทศที่เป็น และไม่เป็นสมาชิกของที่ประชุมเข้าร่วมเป็นภาคีในอนุสัญญาฉบับนี้ให้ได้ มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ อาจกล่าวได้ว่าความล้มเหลวของอนุสัญญาฉบับนี้เกิดจากความขัดแย้ง ในด้านทัศนะของแต่ละระบบกฎหมาย ซึ่งมีทัศนะที่แตกต่างกันในประเด็นปัญหา เรื่องการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของเงื่อนไขของการรับรองและบังคับค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศ ที่ถึงแม้ว่าจะมีเงื่อนไขที่คล้ายคลึงกันในบางเงื่อนไข แต่ทัศนะที่มีต่อเงื่อนไข ในแต่ละระบบกฎหมายก็ยังคงมีความแตกต่างกันอยู่ ดังนั้นหากที่ประชุมแห่งกรุงเฮกต้องการที่จะใช้ระบบของอนุสัญญา เป็นเครื่องมือให้การแก้ปัญหาการขัดกันของกฎหมายแล้ว จึงจ�ำเป็นที่จะต้อง มีการปรับปรุง แก้ไขอนุสัญญาแห่งกรุงเฮกว่าด้วยการรับรองและบังคับตาม ค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศให้มีความชัดเจน และทันสมัยกว่าที่เป็นอยู่ใน ปัจจุบัน เช่น ควรที่จะก�ำหนดขอบเขตของลักษณะของค�ำพิพากษาที่จะตกอยู่ ภายใต้บังคับของอนุสัญญาฉบับนี้ให้ชัดเจน หรือก�ำหนดวิธีการรับรอง และ บังคับไว้ในอนุสัญญาซึ่งจะเป็นการขจัดความแตกต่างของวิธีการรับรองและ บังคับตามค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศ ทั้งนี้เพื่อท�ำให้การใช้ระบบของอนุสัญญา เป็นเครื่องมือในการขจัดการขัดกันแห่งกฎหมายในเรื่องการรับรองและบังคับ ตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศสามารถท�ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ สอดคล้องกับสภาวะการในปัจจุบัน ส�ำหรับประเทศไทย แม้ว่าประเด็นปัญหาในเรื่องการรับรองและ บังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ จะได้มีการกล่าวถึงกันมานานแล้ว แต่จนกระทั่งปัจจุบันประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ก็ยังไม่ได้รับความส�ำคัญทั้งจาก นักวิชาการเอง หรือในส่วนของภาคปฏิบัติอย่างทนายความ หรือศาล จึงท�ำให้ ประเด็นปัญหาในเรื่องนี้ส�ำหรับประเทศไทยนั้นยังคงมีความไม่ชัดเจนอยู่มาก ทั้งนี้อาจเป็นเพราะทัศนะคติในแง่ลบที่นักกฎหมายไทยมีต่อกฎหมาย และ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 20
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3