วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ซึ่งนับได้ว่าเป็นปัญหาขั้นพื้นฐานที่ส�ำคัญ ประกอบกับไทยเองยังมีการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบที่เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ในเรื่องนี้ไม่มากนักทั้งในแง่มุมของกฎหมายภายในเอง หรือในระดับของ อนุสัญญาที่เกี่ยวกับเรื่องการรับรองและบังคับตามค�ำพิพากษาศาลต่างประเทศ ซึ่งนับว่าเป็นสิ่งที่ส�ำคัญที่ประเทศไทยจะน�ำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดท�ำ กฎหมายที่เกี่ยวกับประเด็นนี้ ซึ่งนับว่าเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยสร้างความน่าเชื่อถือ ต่อระบบกระบวนการยุติธรรมของไทย หากเราจะพิจารณาถึงสถานะของอนุสัญญาแห่งกรุงเฮก ค.ศ. 1971 ในมุมมองของไทย ก็อาจกล่าวได้ว่า แม้ว่าไทยจะไม่เป็นภาคีของอนุสัญญาฉบับนี้ แต่การศึกษาถึงข้อดี ข้อเสียของอนุสัญญาฉบับนี้ในฐานะที่เป็นกฎหมายต้นแบบ เพื่อที่จะน�ำเอาข้อดี ข้อเสียมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย หากว่าประเทศไทยมีความจ�ำเป็นที่จะต้องร่างกฎหมายที่เกี่ยวด้วยการรับรอง และบังคับตามค�ำพิพากษาของศาลต่างประเทศ ทั้งในส่วนของกฎหมายภายใน และในส่วนของอนุสัญญาที่ประเทศไทยจ�ำเป็นที่จ�ำต้องเข้าร่วมเป็นภาคีต่อไป ในอนาคต วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 21
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3