วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ
ของตัวเด็กเอง ของบิดามารดา ของผู้ปกครอง หรือของผู้ควบคุมดูแลเด็ก โดยการรับประกันนั้นจะต้องท�ำเป็นหนังสือว่าจะส่งตัวเด็กให้กับศาลเยาวชน ภายในระยะเวลาที่ก�ำหนดแน่นอน อย่างไรก็ตาม กฎหมายได้ก�ำหนดข้อยกเว้น ไว้เช่นกัน กล่าวคือ หากเป็นคดีที่ศาลเห็นว่ามีเหตุอันเป็นไปได้ (Probable cause) และเชื่อว่าเด็กนั้นได้กระท�ำความผิด พร้อมมีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใด ประกอบ ดังนี้ 1) มีความเป็นไปได้ว่าเด็กจะไม่ปรากฏตัวต่อศาลเยาวชน ที่มีอ�ำนาจพิจารณา 2) การควบคุมตัวจ�ำเป็นต่อการปกป้องตัวเด็กหรือชุมชน 3) ไม่ปรากฏว่าบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ควบคุมดูแลอยู่ ณ ที่ใด หรือ บุคคลดังกล่าวไม่ต้องการด�ำเนินการควบคุมตัวเด็กไปศาลเยาวชน 4) เด็กร้อง ขอให้ไม่ปล่อยตัวโดยมีเหตุผล ศาลอาจมีค�ำสั่งให้มีการควบคุมตัวเด็กได้ 12 ในกรณีที่เด็กไม่ได้ถูกปล่อยตัว เด็กจะต้องถูกน�ำตัวไปอยู่ในสถานที่ ที่ก�ำหนด และศาลที่มีอ�ำนาจพิจารณาคดีอาญาทั่วไปจะต้องแจ้งสถานที่ที่เด็ก ถูกควบคุมพร้อมทั้งเหตุผลของการควบคุมไปยังบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือ ผู้ควบคุมดูแล และพนักงานคุมประพฤติ (Probation officer) หรือเจ้าหน้าที่ เฉพาะคดีที่ท�ำหน้าที่ค้นหาข้อเท็จจริงเบื้องต้นหรือท�ำหน้าที่อื่น ๆ ที่ศาลเยาวชน ก�ำหนดด้วย 13 การดำ�เนินการในขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดีของศาลเยาวชน แห่งรัฐอินเดียนา การด�ำเนินการในขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดีตามหัวข้อนี้ หมายถึง การสอบสวน (Interrogation) ผู้กระท�ำความผิดที่เป็นเด็กและคดีนั้นอยู่ภายใต้ อ�ำนาจของศาลเยาวชนของรัฐอินเดียนา โดยประมวลกฎหมายอินเดียนา ให้ความส�ำคัญต่อการด�ำเนินการในขั้นตอนนี้ในคดีความผิดร้ายแรงเป็นอย่างมาก กฎหมายก�ำหนดว่า ถ้อยค�ำใด ๆ ที่ถูกให้ไว้ในระหว่างที่มีการควบคุมตัว ณ สถานที่ควบคุมตัว ห้ามศาลที่มีอ�ำนาจพิจารณาคดีในคดีที่เป็นความผิด ร้ายแรงรับฟัง เว้นแต่การได้มาซึ่งถ้อยค�ำนั้นจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ข้อ 617 ของกฎของพยานหลักฐานแห่งรัฐอินเดียนา (Indiana Evidence Rule) 14 12 Indiana Code Title 31. Family Law and Juvenile Law 31-30-1-11 13 Indiana Code Title 31. Family Law and Juvenile Law IC 31-9-2-62 14 Indiana Code Title 31. Family Law and Juvenile Law 31-30.5-1-2 วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 29
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3