วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ได้แม้ว่าศาลจะมีค�ำพิพากษาให้ปล่อยตัวไปหรือยกฟ้อง โดยข้อความคิดที่อยู่ เบื้องหลังมาตรการนี้ คือ แนวคิด Parens Patriae 23 แม้ว่าหากพิจารณา ลงไปในรายละเอียดจะพบความแตกต่างบางประการอยู่เช่นกัน กล่าวคือ ตามกฎหมายของรัฐอินเดียนา ในคดีความผิดร้ายแรง ศาลที่มีอ�ำนาจพิจารณา คดีอาญาทั่วไปจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะส่งตัวบุคคลนั้นไปเพื่อฟื้นฟูพฤติกรรม กับศาลเยาวชนหรือไม่ แต่ตามกฎหมายของประเทศไทย พระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ก�ำหนดให้อ�ำนาจดังกล่าวเป็นของศาลเยาวชนและครอบครัวโดยตรง 24 นอกจากนี้ กฎหมายของประเทศไทยยังแสดงให้เห็นถึงการก�ำหนดขอบเขตของแนวคิด Parens Patriae ที่กว้างยิ่งขึ้นโดยก�ำหนดให้ศาลเยาวชนและครอบครัว อาจใช้มาตรการเพื่อรักษาสวัสดิภาพและอนาคตของเด็กและเยาวชนนั้นในคดี ที่มีการถอนฟ้องอีกด้วย 25 ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการดำ�เนินการในขั้นตอนก่อนการพิจารณาคดี การสอบสวนในคดีความผิดอาญาร้ ายแรงที่ได้กระท�ำโดยเด็ก ของรัฐอินเดียนานั้นจะต้องด�ำเนินการตามหลักเกณฑ์ข้อ 617 ของกฎของพยาน หลักฐานแห่งรัฐอินเดียนา (Indiana Evidence Rule) ซึ่งมีสาระส�ำคัญ คือ พยานหลักฐานซึ่งได้มาระหว่างที่มีการควบคุมตัวเด็กต้องห้ามรับฟังเพื่อการพิสูจน์ ความผิดต่ออาชญากรรมร้ายแรงของบุคคลนั้น เว้นแต่เป็นพยานหลักฐาน ที่มีการบันทึกอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีภาพและเสียงของบุคคลที่ถูกสอบสวนและ เจ้าพนักงานผู้สอบสวน การก�ำหนดหลักเกณฑ์ไว้ เช่นนี้แสดงให้เห็นถึง การให้ความส�ำคัญกับพยานหลักฐานในคดีที่มีผลกระทบต่อสังคมส่วนรวม (เป็นความผิดร้ายแรง) โดยมีเจ้าหน้าที่ของรัฐเป็นผู้ด�ำเนินการเป็นอย่างมาก 23 โปรดดูปพนธีร์ ธีระพันธ์. (2559, ธันวาคม). Parens Patriae ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาสำ�หรับเด็ก และเยาวชน. วารสารนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 45, 4. หน้า 1040-1052. เพิ่มเติม. 24 โปรดดูมาตรา 138 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ประกอบ 25 โปรดดูมาตรา 100 แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ประกอบ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 33

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3