วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

พยานหลักฐานใด ๆ ที่ได้มาในระหว่างที่เด็กปราศจากอิสรภาพ หากมิได้ท�ำการ บันทึกโดยสื่ออิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีภาพและเสียงของบุคคลที่ถูกสอบสวนและ เจ้าพนักงานผู้สอบสวนย่อมใช้พิสูจน์ความผิดของเด็กไม่ได้ อย่างไรก็ดี ความเข้มงวดของกฎหมายถูกผ่อนปรนหากการสอบสวนนั้นไม่ได้เกิดขึ้น ในสถานที่ควบคุมตัว แต่เป็นการด�ำเนินการ ณ โรงเรียนหรือสถานที่อื่น โดยพยานหลักฐานที่ได้มานั้นหากมีการบันทึกโดยอุปกรณ์บันทึกเสียงและ ปรากฏเสียงของบุคคลที่ถูกสอบสวนและเจ้าพนักงานผู้สอบสวนก็สามารถ น�ำมาพิสูจน์ความผิดของเด็กได้ พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553 มิได้ก�ำหนดเกี่ยวกับได้มาซึ่งพยานหลักฐานส�ำหรับ ความผิดอาญาร้ายแรงไว้เป็นการเฉพาะ กฎหมายฉบับดังกล่าวก�ำหนดเพียง การแยกสถานที่สอบสวนในคดีอาญาที่เด็กและเยาวชนถูกกล่าวหาว่ากระท�ำผิด ออกจากการสอบสวนคดีอาญาทั่วไป รวมถึงก�ำหนดตัวบุคคลและวิธีการ สอบสวนเฉพาะในคดีอาญาดังกล่าว ซึ่งมีการน�ำหลักการสอบสวนผู้เสียหาย หรือพยานที่เป็นบุคคลซึ่งมีอายุไม่เกิน 18 ปี จากประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญามาใช้ประกอบ ดังนั้น โดยสรุปพยานหลักฐานต่าง ๆ ที่ได้มา ในคดีอาญาทุกประเภทจะต้องเป็นไปตามหลักการที่ปรากฏอยู่ในประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาอาญา ซึ่งในกรณีนี้รวมถึงเรื่องการรับฟังและการชั่งน�้ำหนัก พยานหลักฐานดังกล่าวด้วย บทบัญญัติหนึ่งที่ผู้ เขียนนึกถึงและเป็นบทบังคับที่ปรากฏอยู่ใน พระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและ ครอบครัว พ.ศ. 2553 ในประเด็นการต้องห้ามรับฟังพยานหลักฐานก็คือ บทบัญญัติในมาตรา 69 วรรคท้าย ที่ว่า “ก่อนส่งตัวผู้ถูกจับให้พนักงานสอบสวน แห่งท้องที่ที่ถูกจับ ให้เจ้าพนักงานผู้จับท�ำบันทึกการจับกุม โดยแจ้งข้อกล่าวหา และรายละเอียดเกี่ยวกับเหตุแห่งการจับให้ผู้ถูกจับทราบ ทั้งนี้ ห้ามมิให้ถาม ค�ำให้การผู้ถูกจับ ถ้าขณะท�ำบันทึกดังกล่าวมีบิดา มารดา ผู้ปกครอง หรือ บุคคลหรือผู้แทนองค์การซึ่งเด็กหรือเยาวชนอาศัยอยู่ด้วยอยู่ด้วยในขณะนั้น วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 34

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3