วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

ต้องกระท�ำต่อหน้าบุคคลดังกล่าวและจะให้ลงลายมือชื่อเป็นพยานด้วยก็ได้ ถ้อยค�ำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมมิให้ศาลรับฟังเป็นพยานเพื่อพิสูจน์ ความผิดของเด็กหรือเยาวชน แต่ศาลอาจน�ำมาฟังเป็นคุณแก่เด็กหรือเยาวชนได้” บทบัญญัติดังกล่าวมีสาระส�ำคัญบางประการที่คล้ายคลึงกับพยานหลักฐาน ซึ่งได้มาระหว่างที่มีการควบคุมตัวเด็กในคดีความผิดอาญาร้ายแรงในรัฐอินเดียนา กล่าวคือ กฎหมายให้ความส�ำคัญกับการได้มาซึ่งพยานหลักฐานในระหว่างที่ ผู้ถูกกล่าวหาอยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยพยานหลักฐานจ�ำพวกนี้ หากมีการใช้ เพื่อพิสูจน์ความผิดของเด็กหรือเยาวชน กฎหมายก�ำหนด ห้ามศาลรับฟัง อย่างไรก็ดี กฎหมายของประเทศไทยก็ไม่ได้ห้ามศาลเยาวชนและ ครอบครัวไม่ให้รับฟังพยานหลักฐานดังกล่าวอย่างเด็ดขาด หากพยานหลักฐาน ที่ได้มานั้นจะเป็นประโยชน์กับตัวเด็กหรือเยาวชนผู้ถูกกล่าวหา 26 ข้อสังเกตสืบเนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าว คือ การห้ามถามค�ำให้การเด็ก หรือเยาวชนผู้ถูกจับ ข้อปฏิบัตินี้ห้ามมิให้เจ้าพนักงานผู้จับถามค�ำให้การเด็กหรือ เยาวชนผู้ถูกจับกุม ข้อปฏิบัตินี้มีความแตกต่างกับการห้ามถามค�ำรับสารภาพ (Confession) ในชั้นจับกุมของคดีอาญาทั่วไป โดยการห้ามถามค�ำให้การเด็ก หรือเยาวชนผู้ถูกจับนี้ ไม่ได้หมายความถึงเฉพาะค�ำรับสารภาพเกี่ยวกับความผิด ที่เกิดขึ้น แต่ยังรวมถึงการถามถ้อยค�ำต่าง ๆ ที่อาจเกี่ยวกับการพิสูจน์ความผิด หรืออาจใช้เป็นหลักฐานในการพิสูจน์ความผิดนั้น ๆ ด้วย เช่น การสอบถาม ประวัติส่วนตัว (Personal information) การสอบถามความผิดที่เคย ท�ำมาในอดีตของเด็กหรือเยาวชน (Previous committed delinquency) เป็นต้น 27 การห้ามถามค�ำให้การเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุมของประเทศไทยนี้ นับว่ามีความแตกต่างกับการถามค�ำให้การในคดีอาญาทั่วไป เนื่องจากประมวล กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาก�ำหนดห้ามไว้แต่เพียงการถามค�ำรับสารภาพ เท่านั้น 28 ส่วนการให้ถ้อยค�ำของเด็กหรือเยาวชนในชั้นจับกุม คือ ถ้อยค�ำที่ 26 โปรดดูมาตรา 69 วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชน และครอบครัว พ.ศ. 2553 ประกอบ 27 ปพนธีร์ ธีระพันธ์. (2560). เอกสารประกอบการสอบวิชาคดีเยาวชนและครอบครัว. สงขลา: โรงพิมพ์ ห้างหุ้นส่วนสามัญ หาดใหญ่ ดิจิตอล พริ้นท์. หน้า 116-117. 28 โปรดดูมาตรา 84 วรรคท้าย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ประกอบ วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 35

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3