วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ

บทนำ� สภาพปัญหาในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย จะเห็นได้ว่าแต่ละหน่วยงานต่างยึดภารกิจของตนเป็นแนวทางในการด�ำเนินงาน โดยขาดการมองปัญหาของกระบวนการยุติธรรมทั้งระบบ ซึ่งเมื่อเกิดคดีความ หรือข้อพิพาทขึ้นมักจะมุ่งน�ำคดีเข้ าสู่กระบวนการพิจารณาพิพากษาของ ศาลยุติธรรมมากเกินไป แต่เป็นปัญหาที่ทุกฝ่ายในกระบวนการยุติธรรม ต้องร่วมกันแก้ไข เพื่อหารูปแบบและมาตรการในการด�ำเนินคดีและเบี่ยงเบนคดี บางประเภท ไม่ให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมต่อศาลยุติธรรม แต่หน้าที่ของ เจ้าพนักงานต�ำรวจนั้นเกี่ยวข้องทั้งในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาและ กระบวนการยุติธรรมทางปกครอง เพราะบุคคลที่ได้รับความเดือดร้อน เสียหายจากการใช้อ�ำนาจของเจ้าพนักงานต�ำรวจจะฟ้องคดีที่ศาลใดระหว่าง ศาลยุติธรรมและศาลปกครอง ซึ่งต้องพิจารณาในเนื้อหาเป็นสาระส�ำคัญของคดีว่า เป็นการฟ้องคดีเกี่ยวกับเรื่องใด หากเป็นเรื่องโต้แย้งการกระท�ำทางปกครองหรือ ขอให้ฝ่ายปกครองรับผิดในการกระท�ำทางปกครองที่สามารถแยกออกได้จาก กระบวนการยุติธรรมทางอาญา หรือเป็นกรณีของการใช้อ�ำนาจทางกระบวนการ ยุติธรรมแต่มีวัตถุประสงค์ในทางปกครองก็เป็นเรื่องที่อยู่ในอ�ำนาจศาลปกครอง แม้ว่าจะเป็นกรณีที่คาบเกี่ยวกันหรืออยู่ระหว่างกระบวนการยุติธรรมทางอาญา หรือการพิจารณาของศาลยุติธรรมในขั้นตอนของศาลยุติธรรมก็ตาม แต่ระบบ ศาลปกครองในประเทศไทยหาได้เป็นเช่นนั้นไม่ สภาพปัญหา ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ประเด็นปัญหา ที่พบซึ่งกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงาน สอบสวนหรือเจ้าพนักงานต�ำรวจซึ่งอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าพนักงานของรัฐ ในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการเมื่อมี คดีอาญาเกิดขึ้น พนักงานสอบสวนจึงเข้ามามีบทบาทในทุกขั้นตอนของ กระบวนการยุติธรรมทางอาญา กรณีการเก็บของกลางซึ่งตามประมวลกฎหมาย วิธีพิจารณาความอาญา ในระหว่างนั้นหน่วยงานรัฐจะต้องด�ำเนินการหาที่เก็บรักษา วารสารวิชาการนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ปีที่ 6 ฉบับที่ 8 กรกฎาคม 2560 - มิถุนายน 2561 41

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3