รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
4 แนวคิดในการร่างพระราชบัญญัติคู่ชีวิตขึ้น เพื่อรับรองสถานะใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มเพศทางเลือกเพื่อให้เกิดสิทธิ ในทางกฎหมายภายใต้หลักนิติรัฐ ภาครัฐในฐานะผู้ที่จะให้การรับรองสิทธิในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของคู่รักที่มีเพศวิถี แบบรักเพศเดียวกันนั้น ควรมาคิดทบทวนถึงรูปแบบและวิธีการในการรับรองสถานะในการใช้ชีวิตคู่ให้แก่คู่รักที่มี เพศเดียวกัน โดยรัฐจะต้องพิจารณาว่าจะรับรองในรูปแบบใดและมีลักษณะของกฎหมายที่ให้การรับรองอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งรูปแบบของกฎหมายที่จะใช้ในการรับรองจะมีรูปร่างอย่างไร โดยหลักอาจต้องคานึงถึงบริบท ของสังคมและวัฒนธรรมมาเป็นส่วนประกอบที่สาคัญอย่างยิ่งในการแก้ไขหรือเพิ่มเติมกฎหมายดังกล่าว เพื่อให้เกิด ความเท่าเทียมกันโดยไม่จากัดเพศ 2. แนวคิดทฤษฎีและหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 2.1 แนวคิดเกี่ยวกับศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ศักดิ์ศรี คือการยอมรับของบุคคลในสังคมในการอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ที่ได้รับการยอมรับของสังคมมนุษย์ และเรื่องดังกล่าวต้องเป็นเรื่องดีงามเท่านั้นเรื่องไม่ดี ไม่ให้รวมเรื่องศักดิ์ศรี แม้ว่าพฤติกรรมที่บุคคลกระทานั้น หรือ ต้องการกระทานั้นๆ อาจจะกาหนดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือไม่ ก็ได้ถือว่าเป็นเรื่องดีงาม สมควรยกย่องและต้องถือ ปฏิบัติเพื่อเป็นมติขององค์การ การยอมรับขององค์กรต่างๆ นั้นด้วยก็ได้ สิทธิเสรีภาพหรืออานาจและหน้าที่ก็ถือ เป็นศักดิ์ศรีด้วยเช่นกัน มนุษย์ คือ บุคคลทั่วไป ไม่เลือกว่าจะเป็นชนชาติใด เผ่า ศาสนา ผิวสี ภาษา และอื่นๆ ที่มีสภาพเป็นที่ ยอมรับว่าเป็นส่วนของสังคมตลอดจนองค์กร/องค์การ ที่อาศัยมติเป็นข้อปฏิบัติไปตามประสงค์ขององค์การ องค์การก็ให้ถือเป็นมนุษย์ด้วยเช่นกัน แนวคิดว่าด้วยเรื่องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ มีรากฐานทางความคิดมาจาก ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ (Natural Rights) และหลักปัจเจกชนนิยม (Individualism) โดย John Locke ได้ อธิบายว่าภายใต้ทฤษฎีกฎหมายธรรมชาติ มนุษย์มีธรรมชาติที่ดี กล่าวคือ สภาวะตามธรรมชาติของมนุษย์เป็น สภาวะที่มนุษย์มีเสรีภาพโดยสมบูรณ์ประกอบกับการที่มนุษย์เป็นคนที่มีเหตุผล สิ่งเหล่านี้จึงทาให้มนุษย์สามารถ เข้าใจกฎหมายธรรมชาติและสามารถกาหนดการกระทาของตนเองภายในขอบเขตของกฎหมายธรรมชาติได้ ภายใต้กฎหมายธรรมชาติมนุษย์จึงมีความเสมอภาคและเท่าเทียมกัน [4] ซึ่งอิสระหรือเสรีภาพดังกล่าวถือเป็น ผลประโยชน์ส่วนบุคคลที่ได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายธรรมชาติที่เรียกว่า “สิทธิตามธรรมชาติ” หมายถึง สิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติเป็นความชอบธรรมที่มนุษย์จะพึงมีและเป็นสิทธิที่ตั้งอยู่บนความต้องการของมนุษย์ [5] สิทธิ ตามธรรมชาติจึงมีสาระสาคัญอยู่ว่า มนุษย์ทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกันและมีสิทธิบางประการที่ติดตัวอยู่กับตัวมา ตั้งแต่กาเนิดจนกระทั่งถึงแก่ความตาย ได้แก่ สิทธิในชีวิต เสรีภาพในร่างกายและความเสมอภาค โดยสิ่งเหล่านี้ไม่ อาจโอนให้แก่กันและผู้ใดจะล่วงละเมิดมิได้เพราะหากมีการล่วงละเมิดสิทธิต่างๆ เหล่านี้ย่อมมีผลกระทบกระเทือน หรือทาให้เสื่อมเสียต่อสภาพของความเป็นมนุษย์ [6] ในขณะที่หลักปัจเจกชนนิยมมีรากฐานมาจากความคิดของ สานักสโตอิค (Stoic) เชื่อว่าการได้อยู่ในสภาวะธรรมชาติที่สมบูรณ์ที่สุดคือ อุดมคติสูงสุดของมนุษย์ ซึ่งมนุษย์จะ
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3