รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

5 บรรลุถึงสภาวะดังกล่าวได้มนุษย์ต้องมีความเป็นตัวเองและความมีเหตุผล และการที่มนุษย์จะมีความเป็นตัวเองได้ มนุษย์ต้องมีอานาจหรือความสามารถในการกาหนดตนเองหรือที่เรียกว่า “ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์” ซึ่งเป็นสิทธิ ตามธรรมชาติในฐานะที่เกิดมาเป็นมนุษย์ รัฐจึงไม่สามารถตรากฎหมายที่เป็นการขัดหรือแย้งกับสิทธิตามธรรมชาติ ของมนุษย์ได้ สรุปได้ว่า หลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ การศึกษาเกี่ยวกับรากฐานของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ คือ สิทธิในชีวิต ร่างกายและสิทธิในความเสมอภาค ศักดิ์ศรีความเป็น มนุษย์ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญไทยเป็น การกล่าวถึงคุณค่าศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ซึ่งเป็นคุณค่าที่ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเวลาสถานที่ และจะต้องทาให้คุณค่า ดังกล่าวนั้นมีผลในทางกฎหมาย ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ย่อมถือว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์เป็นคุณค่าหรือวัตถุ ในทางกฎหมายอย่างหนึ่งซึ่งต้องให้การรับรองและคุ้มครองศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ตามรัฐธรรมนูญไทย [7] 2.2 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิในความเสมอภาค สิทธิ หมายถึง ความรู้สึกที่รับรู้ได้ในตัวมนุษย์ มาตั้งแต่เกิดหรือเกิดขึ้นโดยกฎหมาย เพื่อให้มนุษย์ได้รับ ประโยชน์ และมนุษย์จะเป็นผู้เลือกใช้สิ่งนั้นเอง โดยไม่มีผู้ใดบังคับได้ [8] เช่น สิทธิในการ กิน การนอน แต่สิทธิ บางอย่างมนุษย์ได้รับโดยกฎหมายกาหนดให้มี เช่น สิทธิในการมี การใช้ทรัพย์สิน สิทธิในการร้องทุกข์ เมื่อตนถูก กระทาละเมิดกฎหมาย เป็นต้น ความเสมอภาค (Equality) ความหมายตามระบอบประชาธิปไตย หมายถึง การที่ประชาชนทุกคนใน ประเทศมีความเสมอภาคหรือความเท่าเทียมกันในเรื่องสิ่งจาเป็นขั้นพื้นฐาน [9] ในที่นี้สิ่งที่จาเป็นขั้นพื้นฐานต่อ การอยู่รอดและพัฒนาตัวเองตามหลักสิทธิมนุษยชน คือ ปัจจัยสี่ ความมั่นคงปลอดภัยในชีวิตและร่างกาย การนับ ถือศาสนา การศึกษาและการรับรู้ข่าวสาร การเข้าถึงบริการสาธารณะและสวัสดิการสังคม การประกอบอาชีพ การ มีส่วนร่วมทางการเมือง และการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย 2.3 แนวคิดเกี่ยวกับสิทธิทางกฎหมาย สิทธิทางกฎหมาย (สิทธิพลเมือง) คือสิทธิที่ถ่ายทอดมาจากระบบการปกครองเฉพาะอย่าง และถูกกาหนด ลงในบทบัญญัติบางรูปแบบ เช่น กฎหมาย จารีตประเพณี หรือความเชื่อ ขณะที่สิทธิทางกฎหมายนั้นสัมพันธ์กับ การเมืองและวัฒนธรรม ซึ่งบุคคลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย ได้แก่ (1) สิทธิในการทางาน (2) สิทธิในการ มีที่อยู่อาศัย (3) สิทธิทางการศึกษา (4) สิทธิด้านสุขภาพ (5) สิทธิด้านวัฒนธรรม ดังนั้น สิทธิทางวัฒนธรรมคือสิทธิ ที่ทุกคนจะสามารถมีส่วนร่วมและดาเนินกิจกรรมตามรูปแบบของวัฒนธรรมของแต่ละคน ตราบเท่าที่การปฏิบัติ ตามสิทธิเหล่านี้ไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น 2.4 แนวคิดเกี่ยวกับครอบครัว แนวคิดทฤษฎีพัฒนาการครอบครัว (developmental family theory) มีจุดเริ่มต้นราวทศวรรษที่ 1930 ฮิลล์แอนด์ แฮนซัน (Hill & Hanson) กล่าวว่า ระบบครอบครัวมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่ใช่สิ่งที่ตายตัว มี

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3