รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
6 ขอบข่ายมุมมองที่กว้างขวาง รวมทั้งมีลักษณะที่เป็นพลวัต (dynamic) กล่าวคือ ชีวิตครอบครัวมักเริ่มต้นที่การ แต่งงานของหญิงชายและสิ้นสุดลงเมื่อคู่แต่งงานสิ้นชีวิต ในช่วงของการดาเนินชีวิตครอบครัว ลักษณะของสมาชิก ในครอบครัวจะกาหนดกิจกรรมต่างๆ เป็นระยะๆ ซึ่งครอบครัวส่วนใหญ่จะผ่านระยะต่างๆ และกิจกรรมหลักที่ คล้ายคลึงกัน แต่จะแตกต่างกันถ้าลักษณะโครงสร้างของสมาชิกในครอบครัวแตกต่างกัน ระยะต่างๆ ของ ครอบครัวตั้งแต่หญิงชายเริ่มแต่งงานกันจนกระทั่งคู่แต่งงานสิ้นชีวิตลงไปนี้ เรียกว่า วงจรชีวิตครอบครัว (family life cycle) กล่าวอีกนัยหนึ่งชีวิตเป็นสิ่งมหัศจรรย์ และการได้มีชีวิตเป็นมนุษย์เป็นสิ่งละเอียดอ่อนสลับซับซ้อน ชีวิตมนุษย์จะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับระบบครอบครัวที่ให้กาเนิดชีวิตนั้น หากในครอบครัวมีธรรมชาติที่อบอุ่นอ่อนโยน ชีวิตที่ถูกบ่มเพาะในบรรยากาศและสภาพแวดล้อมเช่นนั้นก็ย่อมซึมซับธรรมชาติที่อบอุ่นอ่อนโยนเช่นเดียวกัน [10] 2.5 ทฤษฎีเรื่องเพศตามแนวคิดแบบเควียร์ (Queer Theory) มนุษย์สามารถแสดงออกในบทบาททางเพศ และอัตลักษณ์ทางเพศได้หลายแบบ แต่เนื่องด้วยสังคมถูก ควบคุมด้วยบรรทัดฐานแบบรักต่างเพศและความรู้แบบวิทยาศาสตร์จึงทา ให้การแสดงออกทางเพศจากัดอยู่แค่ เพียง “เพศ” ทางชีววิทยา ซึ่งแบ่งแยกเพศเป็นสองแบบเท่านั้น คือ เพศชายและเพศหญิง และบุคคลก็ต้อง แสดงออกให้ตรงตามเพศสรีระ ถ้าบุคคลแสดงบทบาททางเพศตรงข้ามกับเพศสรีระก็จะถูกมองว่า “ผิดปกติ” การเกิดขึ้นของทฤษฎีเควียร์ มาจากช่วงทศวรรษ 1990 ซึ่งนักวิชาการสายสตรีนิยมในคลื่นลูกที่สามพยายาม ตั้งคาถามเกี่ยวกับการแสวงหาความรู้ที่เกิดจากทฤษฎี Gender และ Sexuality รวมถึงการวิพากษ์วิจารณ์ขบวนการ เคลื่อนไหวของเกย์ในฐานะเป็นการเมืองเชิงอัตลักษณ์ และผลพวงของการแพร่ระบาดโรคเอดส์ในทศวรรษ 1980 คา ว่า“เควียร์” จึงมีความหมายกว้าง และอยู่ภายใต้กระแสความคิดแบบโพสต์มอเดิร์นนิสต์ แนวคิดหลังโครงสร้าง นิยม และการรื้อสร้าง (Deconstructionism) หรืออาจอธิบายได้ว่าแนวคิดเควียร์สนใจที่จะท้าทายทฤษฎีกระแส หลักที่อธิบายเรื่องเพศแบบเหตุผลและวิทยาศาสตร์ รวมทั้งการตั้งคาถามต่อวิธีคิดในการจัดประเภท Gender และ Sexuality ซึ่งมีรากเหง้ามาจากความรู้ทางการแพทย์และเพศศึกษาในคริสต์ศตวรรษที่19 ซึ่งทาให้เรื่องเพศถูกจัด ระเบียบกฎเกณฑ์ราวกับเป็นวัตถุสิ่งของการตั้งคาถามเหล่านี้อาศัยความคิดแบบหลังโครงสร้างนิยม (Post- Structuralist) มาใช้เพื่อชี้ให้เห็นว่าการสร้างความจริง ต่อเรื่องเพศที่ผ่านมาพยายามแบ่งแยก กีดกันจนทาให้เกิดคู่ ตรงข้ามระหว่าง “เพศปกติ” (Normative) และ “เพศผิดปกติ” (Deviance) จากทฤษฎีเรื่องเพศตามแนวคิด แบบเควียร์ จะเห็นได้ว่า เพศของมนุษย์ไม่ได้จากัดเพียงเพศกาเนิด คือเพศชายและหญิงเท่านั้น แต่มนุษย์ยังมี ความแตกต่างหลากหลายทางเพศ ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า อัตลักษณ์ทางเพศและรสนิยมทางเพศ ไม่จาเป็นต้องตรง กับความคาดหวังหรือมาตรฐานของสังคม หรือจะกล่าวได้ว่าไม่จาเป็นที่บุคคลที่มีเพศกาเนิดเป็นชายจะต้องคู่กับ บุคคลที่มีเพศกาเนิดเป็นหญิง และเพศของมนุษย์นั้น ไม่สามารถจัดได้แค่เพศหญิงหรือเพศชายเท่านั้น ดังนั้น การศึกษาทฤษฎีเรื่องเพศตามแนวคิดแบบเควียร์ จึงศึกษาไปถึงการให้การสนับสนุนสิทธิการสมรสของบุคคลที่มี
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3