รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

7 ความหลากหลายทางเพศซึ่งเป็นชนกลุ่มน้อยทางเพศและบุคคลเหล่านั้นไม่สมควรถูกเลือกปฏิบัติเหมือนบุคคลชาย ขอบของสังคม และกฎหมายจะต้องให้ความคุ้มครองบุคคลเหล่านั้นโดยไม่มีการเลือกปฏิบัติ [11] 2.6 การจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ 2.6.1 ความหมายของการจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนสมรส คือ การที่คู่แต่งงานสามีภรรยาใช้เอกสารทางราชการเป็นหลักฐานยืนยัน ความสัมพันธ์และเป็นหลักฐานที่ใช้สาหรับการยืนยันสิทธิต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างสามีภรรยา [12] เช่น การรับรอง บุตร การแบ่งสินสมรส การรักษาพยาบาล การลดหย่อนภาษี และการฟ้องหย่าในกรณีสามีหรือภรรยามีชู้ ซึ่งเป็น สิทธิที่ทางกฎหมายกาหนดไว้สาหรับสามีภรรยาที่มีการจดทะเบียนสมรส 2.6.2 ความหมายของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) หมายถึง กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งซึ่งที่มีอัตลักษณ์ทางเพศ หรือ รสนิยมทางเพศที่แตกต่างไปจากคนส่วนใหญ่ในสังคม สามารถจาแนกได้ คือ กลุ่มที่มีความหลากหลายด้านอัต ลักษณ์ทางเพศ คนที่มีเพศที่ปรากฏทางร่างกายกับจิตใจไม่ตรงกัน เช่น ร่างกายเกิดมาเป็นผู้ชาย แต่จิตใจรู้สึกว่า ตนเองเป็นผู้หญิง เป็นต้น นอกจากนี้ กลุ่มคนรักร่วมเพศยังมีบุคลิกภาพโดยทั่วไปแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ในสังคมอย่างเห็นได้ชัด ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ และกลุ่มคนรักร่วมเพศนี้มักพบได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง โดยกลุ่มคนรักร่วมเพศใน เพศชายมีชื่อ เรียกว่า Homosexual หรือถ้าเป็นชายกับชาย เรียกว่า เกย์ (Gay) ถ้าเป็นหญิงกับหญิง เรียกว่า เลส เบี้ยน (Lesbian) แต่บางรายอาจมีความสัมพันธ์ทางเพศได้กับคนทั้งสองเพศ เรียกว่า ไบเซ็กซ์ชวล (Bisexual) เป็น ต้น [13] 2.6.3 การรับรองสิทธิขั้นพื้นฐานแก่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ สาหรับความหมายของคาว่า “เพศ” ที่แสดงออกต่อสังคมไทยเรานั้นก็ถูกเปลี่ยนไปเช่นเดียวกันไม่ได้ถูก จากัดอยู่แค่เพียงเพศกาเนิดเท่านั้น ประเด็นของความเท่าเทียมกันระหว่างเพศของประเทศไทยจะต้องมีความ สอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศ และจะต้องขจัดการเลือกปฏิบัติบนพื้นฐานความแตกต่างทางเพศเพื่อ ส่งเสริมการใช้สิทธิและเสรีภาพของบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศบนพื้นฐานของหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ ในทิศทางเดียวกันกับบุคคลที่มีความแตกต่างในเรื่องอื่นๆ [14] การรับรองสิทธิของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศนั้น ได้รับความสาคัญและตระหนักในระดับสากลเพิ่มมากขึ้นในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 20 จนถึงต้นคริสต์ศตวรรษ ที่ 21 ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดกระแสแนวคิดเรื่องสิทธิมนุษยชนและแนวคิดแบบเสรีนิยมที่พัฒนาไปสู่ แนวคิดที่ต้องการต่อสู้กับโครงสร้างอานาจในระบบอนุรักษ์นิยมแบบเก่า อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องสิทธิที่พึงจะ

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3