รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
8 ได้รับของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศทาให้สังคมเริ่มตระหนักว่า การที่บุคคลเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ผิดแปลกแตกต่างจากบุคคลโดยส่วนใหญ่ แต่เขาเหล่านี้ยังเป็นสมาชิกของสังคมที่สังคมต้องให้การยอมรับ อย่างเข้าใจและรับรองคุ้มครองสิทธิอย่างมีศักดิ์ศรีและเท่าเทียมกับบุคคลในสังคม ในฐานะสมาชิกของสังคม เช่นเดียวกัน 3. ปัญหาเกี่ยวกับการจดทะเบียนสมรสของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ บทความนี้จะนาเสนอทั้งปัญหาด้านกฎหมายและปัญหาการยอมรับในสังคม ดังต่อไปนี้ 3.1 ปัญหาด้านกฎหมาย 3.1.1 กฎหมายเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สิน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1533 ได้กาหนดวิธีแบ่งทรัพย์สินที่เป็นสินสมรสเอาไว้ และ สาหรับกรณีชายและหญิงที่ใช้ชีวิตร่วมกันโดยไม่จดทะเบียนสมรสนั้น ทรัพย์สินที่ชายหญิงคู่นั้นได้ลงทุนร่วมแรงทา มาหาได้ร่วมกันระหว่างที่อยู่กินกันนั้น ถือว่าเป็นเจ้าของร่วมกันและมีส่วนในทรัพย์สินนั้นคนละครึ่ง และสาหรับ กลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันนั้น ทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างการใช้ชีวิตร่วมกันไม่ใช่สินสมรสตาม กฎหมาย แต่ถือว่าทรัพย์สินที่บุคคลทั้งสองทามาหาได้ด้วยกันในระหว่างอยู่ด้วยกันถือว่ามีส่วนเป็นเจ้าของร่วมกัน เช่น คาพิพากษาฎีกาที่ 3725/2532 ซึ่งศาลได้วางแนววินิจฉัยไว้ว่า “แม้โจทก์จะเป็นหญิงแต่ก็มีนิสัยและทา ตัวอย่างผู้ชาย คนทั่วไปเข้าใจว่าโจทก์เป็นชาย โจทก์มีความรักใคร่จาเลยฉันชู้สาวจึงพาจาเลยมาอยู่กับโจทก์ใน ฐานะเป็นแม่บ้านของจาเลยเป็นเวลาเกือบ 20 ปี โดยโจทก์จาเลยได้ร่วมกันทามาหากินแสวงหาทรัพย์สิน ซึ่งไม่ว่า จะเป็นด้วยแรงหรือเงินของฝ่ายใดก็ตามถือว่าทรัพย์ที่ได้มานั้นเป็นทรัพย์ที่ทั้งโจทก์จาเลยมีเจตนาที่จะเป็นเจ้าของ ร่วมกัน โจทก์และจาเลยจึงมีส่วนในทรัพย์ที่พิพาททั้งหมดคนละกึ่งหนึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1357”แสดงให้เห็นว่า การจัดการทรัพย์สินระหว่างชายหญิงที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับกลุ่มคนหลากหลาย ทางเพศที่ใช้ชีวิตร่วมกันไม่มีความแตกต่างกัน เนื่องจากฎหมายได้กาหนดให้นาหลักเรื่องกรรมสิทธิ์ร่วมมาใช้บังคับ โดยหลักการดังกล่าวเป็นเพียงข้อสันนิษฐานของกฎหมายเท่านั้นว่าผู้เป็นเจ้าของร่วมกันมีส่วนเท่ากัน แต่ยังคงมี ความแตกต่างระหว่างคู่ที่ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายและไม่สามารถจดทะเบียนได้ตามกฎหมายรวมถึงหลัก กรรมสิทธิ์ร่วมดังกล่าวไม่สามารถตอบสนองต่อสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นได้เหมือนหลักเกณฑ์ในการจัดการทรัพย์สิน ระหว่างคู่สมรส เช่นในกรณีตัวอย่างเมื่อบุคคลทั้งสองสิ้นสุดความสัมพันธ์และต้องแบ่งแยกทรัพย์สิน เนื่องจากจะมี ปัญหาในการพิสูจน์ว่าทรัพย์สินที่มีอยู่นั้นต่างฝ่ายต่างทามาหาได้หรือเกิดจากการทามาหากินร่วมกัน 3.1.2 กฎหมายเกี่ยวกับครอบครัวและมรดก
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3