รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1

9 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 5 ว่าด้วยครอบครัว และบรรพ 6 ว่าด้วยมรดก เป็นบทบัญญัติ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิตร่วมกันระหว่างสามีภริยาเพื่อกาหนดสิทธิและหน้าที่ต่างๆ นับตั้งแต่ก่อตั้ง ความสัมพันธ์จนกระทั่งสิ้นสุดความสัมพันธ์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกันของกลุ่มคนหลากหลายทาง เพศ ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้ (1) ความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาตามวัตถุประสงค์แห่งการสมรสเพื่อให้ชายและหญิงได้อยู่กินด้วยกัน ฉันสามีภริยา กฎหมายจึงบัญญัติถึงความสัมพันธ์ดังกล่าวไว้ (มาตรา 1461) แต่หากการอยู่ร่วมกันจะก่อให้เกิด อันตรายต่อกายหรือจิตใจก็สามารถร้องขอต่อศาลเพื่อแยกกันอยู่ได้ (มาตรา 1462) ดังนั้น เมื่อบทบัญญัติของ กฎหมายที่กาหนดให้คู่สมรสต้องอยู่กินกันฉันสามีภริยาไม่มีผลบังคับต่อการอยู่ร่วมกันของกลุ่มคนหลากหลายทาง เพศ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลทั้งสองจึงเป็นไปตามความสมัครใจเท่านั้น (2) การอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกันและกัน ตามกฎหมายชายและหญิงที่สมรสกันต่างมีหน้าที่ช่วยเหลือ อุปการะ เลี้ยงดูอีกฝ่ายตามความสามารถและฐานะของตน (มาตรา 1461 วรรคสอง) หากฝ่ายใดไม่ทาหน้าที่ อีกฝ่ายก็ สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูได้ (มาตรา 1598/38) ในขณะที่คู่รักในกลุ่มคนหลากหลายทางเพศที่อยู่ร่วมกัน ไม่มีหน้าที่ตามกฎหมายดังกล่าว ดังนั้น เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ดูแลอีกฝ่ายก็ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู ได้ (3) การเป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ในกรณีปกติเมื่อศาลมีคาสั่งให้คู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเป็นคนไร้ ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ บุคคลที่ศาลจะสั่งให้เป็นผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ได้แก่คู่สมรส (มาตรา 1463) ในขณะที่กลุ่มคนหลากหลายทางเพศไม่สามารถใช้สถานะในการเป็นคู่ชีวิต เพื่อขอตั้งตนเป็นผู้อนุบาลหรือผู้ พิทักษ์ได้ (4) การห้ามทาการสมรสซ้อน กฎหมายกาหนดว่าชายหรือหญิงจะทาการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสอยู่ ไม่ได้ (มาตรา 1452) และถือว่าการสมรสที่เกิดขึ้นภายหลังไม่มีผลทางกฎหมาย (มาตรา 1495) และกรณีที่ฝ่ายใด มีความสัมพันธ์ซ้อนอีกฝ่ายมีสิทธิในการฟ้องหย่า (มาตรา 1516(1)) และฟ้องเรียกค่าทดแทนได้ (มาตรา 1523) แต่ ในการใช้ชีวิตคู่ของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีความสัมพันธ์ซ้อน ก็ไม่มีกฎหมายห้ามหรือ คุ้มครองความสัมพันธ์แต่อย่างใด ทาให้ไม่มีความมั่นคงในการใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน (5) สิทธิในการเรียกค่าเลี้ยงชีพ เมื่อการสมรสสิ้นสุดลงโดยการหย่า เพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง และส่งผลให้อีกฝ่ายต้องยากจนฝ่ายนั้นสามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพได้ (มาตรา 1526) เมื่อไม่สามารถทาการสมรส ได้ตามกฎหมาย หลักเกณฑ์ในเรื่องของการสิ้นสุดการสมรสจึงไม่อาจนามาใช้ได้ ดังนั้น หากสิ้นสุดความสัมพันธ์ เพราะความผิดของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง คู่ชีวิตอีกฝ่ายก็ไม่สามารถฟ้องเรียกค่าเลี้ยงชีพจากฝ่ายที่ต้องรับผิดได้ 6) สิทธิในการรับบุตรบุญธรรม ผู้เยาว์ที่เป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลใดจะเป็นบุตรบุญธรรมของบุคคลอื่นใน ขณะเดียวกันไม่ได้ ยกเว้นเป็นบุตรบุญธรรมของคู่สมรส (มาตรา 1598/26 วรรคแรก) ดังนั้น กลุ่มคนหลากหลาย ทางเพศที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไม่สามารถรับบุตรบุญธรรมร่วมกันได้ เนื่องจากกฎหมายอนุญาตให้กระทาได้ระหว่างคู่

RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3