รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
10 สมรสตามกฎหมายเท่านั้น ประกอบกับหลักในการพิจารณาผู้รับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก็คานึงถึงคุณสมบัติทางสังคม ที่ต้องเป็นสามีภริยาที่สมบูรณ์ตามกฎหมาย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของเด็กเป็นสาคัญ (7) สิทธิในการรับมรดก คู่สมรสมีสิทธิในการรับมรดกของคู่สมรสฝ่ายที่เสียชีวิต โดยกฎหมายกาหนดว่า คู่ สมรสฝ่ายที่ยังมีชีวิตมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรม (มาตรา 1629 วรรคสอง) ดังนั้น เมื่อกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ที่ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันไม่มีกฎหมายรับรองความสัมพันธ์และรับรองว่ามีฐานะทายาทโดยธรรมในการรับมรดก จึงมีเพียง สิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทตามพินัยกรรมเท่านั้น 3.1.3 กฎหมายเกี่ยวกับการทาประกันชีวิต เนื่องจากกลุ่มคนหลากหลายทางเพศไม่สามารถทาประกันชีวิตโดยยกประโยชน์ให้แก่คู่ชีวิตได้ ทั้งนี้ในการ ทาสัญญาประกันชีวิตนั้นกลุ่มคนหลากหลายทางเพศมักประสบปัญหาในการระบุให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายเป็นผู้รับประโยชน์ เนื่องจากบริษัทประกันบางแห่งยังไม่อนุญาตให้ระบุคู่ชีวิตที่เป็นเพศเดียวกันเป็นผู้รับประโยชน์ได้ แม้กฎหมายจะ กาหนดว่าผู้รับผลประโยชน์นั้นจะเป็นผู้ใดก็ได้ แต่ในทางปฏิบัติบริษัทประกันชีวิตจะกาหนดให้ผู้เอาประกันภัยและ ผู้รับประโยชน์จะต้องมีความผูกพันซึ่งจะเน้นไปที่การเกี่ยวข้องตามสายโลหิตหรือเป็นครอบครัว [15] เช่น บิดา มารดา คู่สมรส และบุตรเป็นหลักสาคัญ หากเป็นบุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวไว้ จะต้องแสดงหลักฐานหรือแจ้งสาระ ของความผูกพันให้บริษัทพิจารณา นอกจากนี้กลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ยังไม่สามารถเอาประกันในชีวิตของคู่ชีวิต อีกฝ่ายได้ เพราะการเอาประกันชีวิตของบุคคลอื่นนั้นจะต้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียกันในทางกฎหมายในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 เอกเทศสัญญา ลักษณะ 20 ประกันภัย หมวด 3 ประกันชีวิต โดยวางหลักไว้ใน เรื่องของการทาประกันชีวิตซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานที่สาคัญประการหนึ่งในเรื่องของการทาประกันชีวิตตามประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ก็คือ บุคคลผู้เอาประกันจะต้องมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบุคคลที่เป็นผู้ประกันหรือตาม กฎหมายใช้คาว่าต้องมีส่วนได้เสีย ซึ่งโดยทั่วไปในกรณีการทาประกันชีวิตนั้น บุคคลที่มีส่วนได้เสียกับบุคคลที่ถูกเอา ประกันอาจมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันในทางใดทางหนึ่ง เช่น ญาติพี่น้องตามสายโลหิต สามีภริยาที่ชอบด้วย กฎหมาย หรือคู่หมั้นก็อาจเอาประกันชีวิตระหว่าง กันได้เพราะมีความผูกพันในทางกฎหมายต่อกัน 3.1.4 กฎหมายเกี่ยวกับสิทธิในการตัดสินใจรักษาพยาบาล โดยปกติหากจะต้องทาการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดหรือใช้เครื่องมือใดๆ แพทย์หรือพยาบาลต้องขอความ ยินยอมจากผู้ป่วยหรือญาติที่มีอานาจตัดสินใจแทนทุกครั้ง หากกรณีผู้ป่วยไม่สามารถให้ความยินยอมได้ตาม พระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 บุคคลที่สามารถให้ความยินยอมและถือว่าเป็นญาติ ตามพระราชบัญญัตินี้ ได้แก่ ทายาทโดยธรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ปกครอง ผู้พิทักษ์ หรือผู้อนุบาล คู่สมรสซึ่งถือเป็น ทายาทโดยธรรม ก็สามารถให้ความยินยอมในการรักษาพยาบาล ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถให้ความยินยอมได้และใน กรณีผู้ป่วยที่มีอาการป่วยทางจิต ซึ่งไม่สามารถให้ความยินยอมได้ด้วยตนเอง การรักษาพยาบาลก็ต้องได้รับความ ยินยอมจากญาติ ตามพระราชบัญญัติสุขภาพจิต พ.ศ.2551 ซึ่งคู่สมรสก็เป็นบุคคลหนึ่งที่สามารถให้ความยินยอม ใน
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3