รายงานการประชุมวิชาการระดับชาติทางนิติศาสตร์-ครั้ง-2-เล่ม-1
12 สิทธิในการตัดสินใจเรื่องการรักษาพยาบาล กล่าวคือ กรณีคู่สมรสฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งป่วยหนักไม่ได้สติแพทย์ ย่อมต้องขอความเห็นจากญาติสนิทไม่ว่าจะเป็นการผ่าตัด การให้ยาหรือการหยุดทาการรักษา รวมถึงในกรณี เร่งด่วนที่บางครั้งที่อาจต้องการการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว เนื่องจากอาจมีผลกระทบต่อความเป็นความตาย ซึ่งคู่รัก ที่มิได้จดทะเบียนสมรสจะไม่มีอานาจตัดสินใจแทนกันได้ แพทย์จึงต้องรอฟังความเห็นจากญาติคนอื่นซึ่งอาจสนิท น้อยกว่า สิทธิในการรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล กล่าวคือ แพทย์ย่อมต้องปรึกษาหารือให้ญาติสนิท ร่วมตัดสินใจ แต่หากเป็นคู่รักที่มิได้จดทะเบียนสมรสแพทย์อาจจะมองว่าเป็นบุคคลภายนอก และไม่สามารถให้ ข้อมูลในรายละเอียดของผู้ป่วยได้ สิทธิในการจัดการศพ กล่าวคือ คู่สมรสตามกฎหมายย่อม มีสิทธิในการจัดการ ศพ เช่น การรับศพออกจากโรงพยาบาล การรับเงินสงเคราะห์ค่าทาศพ การขอออกใบมรณะบัตร เป็นต้น ซึ่งคู่รักที่ มิได้จดทะเบียนสมรส จะมีฐานะเป็นแค่บุคคลภายนอกจึงไม่มีสิทธินี้ อาจต้องรอให้ญาติที่อาจสนิทน้อยกว่าเป็น ผู้จัดการศพแทน สิทธิในการเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู กล่าวคือ คู่สมรสมีหน้าที่ตามกฎหมายที่จะต้องอุปการะเลี้ยงดูซึ่งกัน และกัน หากฝ่ายใดไม่เลี้ยงดูอีกฝ่ายหนึ่งจนได้รับความเดือดร้อนก็สามารถฟ้องหย่าได้และฟ้องเรียกค่าอุปการะ เลี้ยงดูตามกฎหมายได้ สิทธิในการรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม กล่าวคือ ตามกฎหมายลักษณะมรดกคู่สมรสถือเป็นทายาท โดยธรรมลาดับแรก หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเสียชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิรับมรดกก่อนทายาทลาดับอื่น สิทธิในการเป็นผู้อนุบาลในกรณีที่คู่สมรสฝ่ายหนึ่งเป็นผู้ไร้ความสามารถ กล่าวคือ ตามกฎหมายเรื่อง ความสามารถของบุคคลนั้น บุคคลบางประเภทที่เป็นผู้ไร้ความสามารถในบางครั้งไม่ได้มีอานาจโดยนิตินัยในการ จัดการทรัพย์สินด้วยตนเองคู่สมรสอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิร้องขอให้ศาลตั้งตนเองเป็นผู้อนุบาลของผู้ไร้ความสามารถ เพื่อจัดการทรัพย์สินแทนได้ตามกฎหมาย สิทธิในการลดหย่อนภาษี กล่าวคือ สาหรับผู้ที่มีรายได้และต้องเสียภาษี หากมีคู่สมรสแล้ว กฎหมายถือ เป็นเหตุให้ลดหย่อนภาษีได้ เพราะถือว่ามีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นต้องดูแลคนอีกหนึ่งคน ตามที่กล่าวมาข้างต้นผู้เขียนเห็นว่าเป็นเพียงตัวอย่างของสิทธิประโยชน์ต่างๆ ทางกฎหมายบางประการที่ คู่สมรสตามกฎหมายพึงได้รับ ซึ่งในกรณีของคู่รักต่างเพศที่มิได้จดทะเบียนสมรสหรือคู่รักในกลุ่มคนที่มีความ หลากหลายทางเพศที่ใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันฉันท์สามีภริยาจะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิประโยชน์เหล่านี้ได้เลย โดยเฉพาะ ในกรณีของคู่ชีวิตของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ การที่ไม่มีทางเลือกอื่นใดหรือไม่มีกฎหมายฉบับใดมารับรองและ คุ้มครองสิทธิที่พึงมีพึงได้จึงก่อให้เกิดความไม่เท่าเทียมกันอันมีสาเหตุมาจากความแตกต่างทางเพศ ซึ่งทาให้กลุ่ม คนหลากหลายทางเพศไม่มีสถานะใดๆ ทางกฎหมายและไม่ได้รับความเป็นธรรมตามกฎหมายด้วย 4.2 วิเคราะห์ปัญหาด้านการยอมรับภายในสังคม
Made with FlippingBook
RkJQdWJsaXNoZXIy Mzk3MzI3